วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

แสดงความคิดเห็นการเรียนรู้โดยใช้บล็อก

         
               ฉันคิดว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บล็อกมีทั้งข้อดีข้อเสีย  ข้อดี   คือสามารถทำงานที่อาจารย์สั่งได้ทุกที่ถ้ามีสัญญาณและสะดวกเพราะใช้คอมพิวเตอร์   ไม่ต้องใช้เอกสารมาแจกนักศึกษาในแต่ละคาบ  นักศึกษาสามารถเรียนรู้เทคนิคและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่แปลกใหม่และได้เรียนรู้รู้อะไรต่างๆ มากมาย  การเรียนรู้โดยใช้บล็อกในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นความรู้ใหม่ของฉัน  ทุกครั้งที่ฉันทำงานที่อาจารย์สั่งงานลงในบล็อกฉันยอมรับว่าฉันตั้งใจมากทุกครั้ง  ไม่ว่าบทความใดที่อ่านจะอ่านอย่างละเอียดถึงแม้ว่าในกรณีที่เป็นวิเคราะห์ฉันอาจทำได้ไม่ดี  แต่นั่นก็เป็นความคิดของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกันอย่างแน่นอนและทุกความคิดก็จะเป็นความคิดของตนเองไม่ได้ลอกเพื่อนคนใดอย่างแน่นอน   ฉันพยายามหางานจากหลาย ๆ เวปไซด์เพื่อจะสามารถนำมาเป็นแนวความคิดที่ดีได้และเพื่อให้เป็นความรู้ที่ดีที่สุดสำหรับคนที่ได้อ่านบล็อกของฉันด้วยบางชิ้นงานจะมีแง่คิดแนวคิดบางชิ้นอ่านแล้วสามารถเป็นกำลังใจให้กับหลายๆ คนได้ด้วย   เมื่ออาจารย์กำหนดวันส่งประมาณสักหนึ่งอาทิตย์ฉันจะรีบทำให้เสร็จตรงตามเวลาด้วยความตั้งใจทุกครั้งถึงบางครั้งงานอาจจะออกมาไม่ดีแต่ด้วยต้องคิดว่าต้องส่งให้ตรงตามเวลา  ถึงแม้ว่างานบางชิ้นที่มีติดขัดก็จะไม่ได้ส่งตามกำหนดไปบ้างแต่ฉันก็จะรีบทำ    และขาดเรียนไปหนึ่งครั้งแต่งานของฉันก็เสร็จตรงตามเวลาทุกๆวันที่เข้าเรียนส่วนมากฉันจะมาเรียนก่อนเวลาเป็นส่วนใหญ่   และฉันก็จะแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทุกครั้ง  ข้อเสีย  คือ  การจัดการเรียนโดยผ่านทางบล็อกก็จะมีบ้างที่อาจทำให้นักศึกษาขี้เกียจและด้วยเวลาที่อาจารย์ให้ทำเยอะทำให้นักเรียนเกิดความคิดว่าเดี๋ยวค่อยทำยังพอมีเวลาจึงอาจทำให้นักศึกษาขาดความรับผิดชอบสำหรับนักศึกษาบางคนวิชานี้ฉันอยากได้เกรด A เพราะฉันรู้ดีว่าฉันตั้งใจทำงานทุกครั้งและให้ความสำคัญกับวิชานี้
              และถ้าจะใช้บล็อกในการจัดการเรียนการสอนในอนาคตข้างหน้าฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะถ้าดูจากการเรียนในครั้งนี้ถ้าแจกเอกสารธรรมดาบางทีเด็กอาจไม่ได้อ่านจริงแต่การเรียนการสอนในครั้งนี้เมื่ออ่านบทความแล้วเราต้องรู้ว่ากล่าวถึงอะไรบ้างและที่มากไปกว่านั้นต้องวิเคราะห์ได้ด้วยความรู้ที่ฉันได้เรียนในครั้งนี้ได้ความรู้ที่แปลกใหม่หลายอย่างและอาจารย์ก็ยังเล่าถึงประสบการณ์การทำงานของท่านด้วยซึ่งถือได้ว่าเป็นความรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำการเรียนรู้โดยการใช้บล็อกไปใช้ได้
      

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง


                                                        บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง   
          การเป็นครูที่ดีและเป็นที่ยอมรับของทุก ๆ คนนั้นเราต้องรักในวิชาชีพครู  สามารถเป็นกำลังใจให้กับนักเรียน นักศึกษา  สามารถยอมรับกับสถานการณ์และสิ่งรอบตัวและสามารถแก้ปัญหาเป็น
ตัวอย่างเช่น  อาชีพครูเป็นอาชีพที่เรียกได้ว่าเป็นแม่พิมพ์ของชาติเยาวชนไทยจะเป็นอย่างไรส่วนหนึ่งก็มาจากครู  ครูต้องหมั่นหาความรู้ที่ดีให้เกิดความรู้ที่กระจ่าง   ก้าวทันโลกสมัยเหมือนกับในปัจจุบันประชาคมอาเซียนได้เข้ามามีบทบาทครูซึ่งอยู่ในหน่วยราชการต้องตื่นตัวอยู่เสมอเพื่อจะได้ถ่ายทอดให้กับศิษย์  สอนนักเรียนอย่างจิงจังและให้นักเรียนสามารถปฏิบัติได้จิง  ทำให้เด็กคิดให้เป็น   และถ้าอะไรที่สามารถสอนนอกห้องเรียนได้ก็ควรพานักเรียนไปศึกษา    แต่ไม่ใช่เท่าแต่ครู   นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่คณะครุศาสตร์สาขาต่าง ๆ ก็ต้องขยันแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาความเป็นครูในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ


แบบทดสอบปลายภาค

                                           
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร


 รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี
    สัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นรวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึงการที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อยู่ในพื้นที่วงกลมสีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ
           สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้ 
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ


วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
       

             
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน
ปรับตัวของภาคราชการไทยในภาพรวม
             ราชการไทย นอกจากเราจะต้องปรับตัวเพื่อรองรับต่อผลกระทบแล้ว ภาคราชการไทยควรจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันในเรื่องของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนด้วย     จึงควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียนด้วย เกือบทุกกระทรวงในขณะนี้ก็เกี่ยวข้องกับอาเซียน   ข้าราชการไทยจะต้องมีบทบาทในการผลักดันการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และบทบาทในการผลักดันให้ไทยกลับมามีบทบาทที่โดดเด่นในเวทีอาเซียนอีกครั้งหนึ่ง
ข้าราชการไทย

    
เราจะต้องรู้เรื่องอาเซียนมากขึ้น ภาคราชการไทยจะต้องมีการตื่นตัวในการรับรู้เกี่ยวกับ
อาเซียนมากขึ้น
     เราจะต้องพยายามที่จะรู้จักประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น   เราจะต้องรู้จักภาษาของประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น    เราจะต้องปรับ ต้องเปลี่ยน เรื่องนี้โยงไปหลายเรื่อง อย่างเช่น ปัญหาความขัดแย้งไทยกับกัมพูชา  รากเหง้าของปัญหา คือ เราไม่สนใจประเทศเพื่อนบ้าน เราจะต้องสร้างคนรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน และมองประเทศเพื่อนบ้านในแง่บวก ไม่ใช่มองเป็นศัตรู
    อย่างไรก็ตาม อาเซียนได้ตัดสินใจแล้วว่า ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของอาเซียน
ดังนั้น ในอนาคต ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างประชาชนของอาเซียนมากขึ้น รวมทั้งระหว่างระบบราชการของไทยกับระบบราชการของประเทศสมาชิกอื่น จะมีการพบปะ เจรจา และประชุมกันมากขึ้น เพราะความร่วมมือต่างๆจะเกิดมากขึ้นในทุกมิติ
    สุดท้าย คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และการเปิดกว้างการมีส่วนร่วมของภาค
ประชาชน
วิเคราะห์สมาคมอาเซียน
      จะเห็นได้ว่าเมื่อสมาคมอาเซียนเข้ามามีบทบาทกับประเทศไทยนั้นเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งแต่ไทยก็ต้องมีการปรับตัวมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการสร้างสัมพันธภาพไมตรีกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกอีกทั้งภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากลางของสมาคมอาเซียนไม่ว่าจะเป็นครู ที่จะต้องก้าวทันสถานการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ รวมถึงนักเรียนจากที่นักเรียนคนใดไม่ชอบภาษาอังกฤษก็ต้องเรียนรู้มากขึ้นเพื่อให้ก้าวทันโลกปัจจุบัน   และแต่ละประเทศเข้าร่วมประชุมก็จะมีการเสนอเรื่องต่าง ๆ ที่จะพัฒนากล่าวได้ว่าสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน



ทดสอบปลายภาค


 1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
                                                
                                                                 บทความแท็บเล็ต

         สุรศักดิ์   ปาเฮ  
  รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่
แท็บเล็ต  เป็นสื่อเทคโนโลยีที่สำคัญ  มุ่งเน้นไปยังนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 
1 จำนวนประมาณ 539,466ปี 2555  ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาสาระที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บแล็ต
ความหมายของแท็บเล็ต  แท็บเล็ต  เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค   พกพาง่ายน้ำหนักเบา   มีคีบอร์ดในตัวหน้าจอสัมผ้ส  ปรับหมุนได้อัตโนมัติ
 แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC : Tablet Personal Computer )
        คือเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทางาน   ได้ทำการเปิดตัว  ในปี
2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก
 แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet Computer / Tablet ) หรือที่เรียกชื่อสั้นๆว่าแท็บเล็ต
          คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ขณะเคลื่อนที่ได้ มีขนาดกลางกะทัดรัดและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นลำดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริง หรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด

ความเป็นมาและร่องรอยทางประวัตศาสตร์ของแท็บเล็ต
       จากการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์และหลักฐานต่างๆที่ค้นพบของการใช้เทคโนโลยีประเภทแท็บเล็ต ( Tablet ) นั้นมีข้อสันนิษฐานและกล่าวกันว่าแท็บเล็ตในยุคประวัติศาสตร์ได้เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้คิดค้นเครื่องมือสาหรับการพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลจากแผ่นเยื่อไม้ที่เคลือบด้วยขี้ผึ้ง  บนแผ่นไม้ในลักษณะของการเคลือบประกบกันทั้ง 2  ด้าน ใช้ประโยชน์ในการบันทึกอักขระข้อมูล หรือการพิมพ์ภาพ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจากบันทึกของซิเซโร ชาวโรมัน
       สันนิษฐานว่าจะมีอายุราวก่อนคริสต์ศตวรรษที่
640-615 ทั้งนี้บริเวณที่ขุดค้นพบจะอยู่แถบตะวันตกเฉียงใต้ของพระราชวังโบราณที่ Nineveh ของ Iraq นอกจากนี้ยังได้พบอุปกรณ์ของการเขียน Wax Tablet โบราณของชาวโรมันที่เป็นลักษณะคล้ายแท่งปากกาที่ทาจากงานช้าง ( Ivory ) ซึ่งหลักฐานที่ปรากฏเหล่านี้ต่างเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงวิวัฒนาการและแนวคิดการบันทึกข้อมูลในลักษณะของการใช้ Tablet ในปัจจุบัน
เกศกาญจน์   บุญเพ็ญ       แท็บเล็ตจะเป็นเพียงตัวช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียนเท่านั้นแต่ไม่สามารถใช้แทนครูได้
นางกฤตยา  หินเธาว์  ครูประจำชั้นป
. 1 /1 โรงเรียนสนามบิน บอกว่าทางโรงเรียนจะไม่ให้แท็บเล็ตกับนักเรียนกลับบ้านเพราะเด็กตัวเล็ก ๆ ไม่สามารถดูแลรักษาได้
นายชินภัทร  แท็บเล็ตไม่ใช่เครื่องมือที่เราสร้างขึ้นเพื่อความหรูหราหรือไฮเทค  แต่จะบอกว่าเราจะบอกว่าเราจะปฏิวัติการเรียนรู้ทางการศึกษาอย่างไร
นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  ประกาศแจกแท็บเล็ตจำนวน
800,000  เครื่อง  แก่เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ อายุ 6-7 ขวบ  งบประมาณกว่า  1000  ล้านบาท
รศ.ดร.สมพงษ์ ตั้งข้อสังเกตว่า  ควรนำไปแจกเด็กที่มีวุฒิภาวะและเป็นวัยที่กระตือรือร้น ในการฝึกทักษะเสาะแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่ใช่นำแท็บเล็ตมาแจกเด็ก ป.1 ซึ่งเป็นวัยที่ยังอ่านไม่ออก  เขียนไม่ได้ ฉะนั้นเด็กเหล่านี้จะไปเสาะแสวงหาข้อมูลได้อย่างไร   อีกทั้งจากงานวิจัย  การแจกแท็บเล็ตนั้น ถือว่าไม่ได้คำนึงถึงความรอบด้านของตัวเด็ก และไม่ได้คิดถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต

         การที่มีนโยบายแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมถือได้ว่ามีทั้งข้อดี และข้อเสีย
ข้อดีก็คือนักเรียนสามารถเรียนรู้อะไรหลาย ๆตั้งเล็ก ๆและการเรียนรู้สามารถฝึกนิสัยรักการเรียนให้กับนักเรียน   และเป็นความสะดวกสะบายที่จะสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นด้วยแต่ถึงอย่างไรแล้วแท็บเล็ตไม่สามารถแทนที่ครูได้และอาจเป็นการมั่วสุมของเด็กคือเด็กจะนำพาไปศึกษาในสิ่งที่ผิดคือนำไปเล่นเกมส์หรืออาจพาไปทำอย่างอื่นที่ไม่มีประโยชน์เพราะพ่อแม่ไม่สามารถที่จะดูแลเด็กๆได้ตลอดเวลา  แต่ก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ถ้าแต่ละโรงเรียนมีการดูแลอย่างเช่นใช้ในเวลาเรียนไม่พากลับบ้าน   และด้วยคำว่าเทคโนโลยยีนั้นก็มีทั้งข้อดีข้อเสียอย่างที่กล่าวมา



กิจกรรมที่ 10 เรียงความเรื่องแม่

                                                                                          เรียงความเรื่องแม่

          
 คำว่าแม่อาจเป็นเพียงคำสั้น ๆ แต่ทุก ๆ คนคงทราบกันดีว่าแม่มีบุญคุณอย่างมหาศาล  เมื่อวันที่  
12  สิงหาคมของทุกปีเวียนมาถึง  ทุก ๆ คนก็จะระลึกได้ว่าที่ผ่านมากี่ปี ๆ ใครเล่าที่คอยอยู่ข้างเราเสมอและไม่เคยหวังสิ่งตอบแทนยอมเจ็บและยอมตายแทนได้  เมื่อลูกเจ็บคนที่เจ็บมากที่สุดก็คือแม่นี่เอง    ยามลูกท้อไม่มีใครที่จะอยู่เคียงข้างแม่ก็จะคอยปลอบใจด้วยความรักและหวังดี  ไม่คิดร้ายอิจฉาริษยาใด ๆ 
         ฉันเป็นหนึ่งคนที่โตมาด้วยความรักของแม่ฉัน   แม่ของฉันเป็นทั้งพ่อ   ทั้งแม่พร้อมกันมาตั้งแต่ฉันเกิดตอนเล็ก ๆ ฉันไม่เคยรู้เลยว่าแม่เลี้ยงฉันมาจะเหนื่อยขนาดไหนแต่พอฉันโตขึ้นฉันสามารถเรียนรู้อะไรหลายอย่างได้   ก็ทำให้ฉันรู้ว่าคน ๆ หนึ่งจะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่คนที่เหนื่อยที่สุดก็คือพ่อกับแม่แต่สำหรับฉันคนที่ฉันรักที่สุดก็คงเป็นแม่ที่แสนดีของฉัน   ฉันยอมรับว่าฉันไม่มีความรู้สึกว่าฉันรักพ่อเลยเพราะอาจเป็นความผูกพันที่ฉันไม่เคยได้รับความรักจากพ่อตั้งแต่เล็ก ๆ  เพราะพ่อฉันทิ้งฉันไปตั้งแต่เล็ก ๆ
        ครอบครัวฉันมีพี่น้อง 6  คนแต่สิ่งที่เป็นสิ่งปลื้มใจนั้นคือแม่ฉันสามารถเลี่ยงลูกเพียงคนเดียวโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและที่สำคัญลูกทุกคนเป็นคนดีขยัน  อดทนเหมือนคุณแม่ของฉัน  ครอบครัวของฉันค่อนข้างจะลำบากแต่แม่ของฉันสามารถเลี่ยงลูกให้มีการศึกษาและจบปริญญาตรีได้ทั้ง ๆ ที่ คุณแม่ของฉันนั้นไม่ได้เรียนหนังสือ   อ่านหนังสือไม่ออก ก็เปรียบเสมือนกับคนตาบอด   ในสมัยก่อนจะทำอาชีพทำนาฉันจำได้ว่าคุณแม่พาฉันลงไปทำนาด้วยและทำของเล่นให้เล่นและทำที่บังแดดให้ด้วย  ในยามที่ฉันไม่สบายคุณแม่ก็จะพาฉันไปหาหมอและดูแลฉันเป็นอย่างดี
       ฉันจำได้ว่าตั้งแต่เล็ก จนปัจจุบันฉันเป็นนักศึกษาเต็มตัวแล้วฉันไม่เคยคิดเลยว่าแม่จะทำให้ฉันมาถึงจุดนี้ได้  ไม่ต้องมีแม่คนใดเป็นต้นแบบของฉันเพราะฉันมีแม่ของฉันเป็นต้นแบบที่ดีเสมอ   ยามฉันท้อไม่มีแม้สักกำลังใจไม่มีใครคอยเข้าใจทะเลาะกับเพื่อนด้วยเรื่องใด ๆ ก็ตามคนที่คอยอยู่ข้าง ๆ เราไม่มีแม้ใครสักคน  แต่ก็ยังมีแม่ของฉันนี่เองที่คอยอยู่ข้าง ๆและทำให้ฉันมีกำลังใจมากขึ้นและสามารถเดินตามความฝันได้ต่อไป   ในชีวิตนี้ฉันคิดว่าคนที่หวังดีและไม่มีอันตรายใด ๆ คือแม่ของฉัน  ฉันไม่เคยรักใครมากกว่าแม่เลย

      
เหตุผลที่ฉันรักแม่อาจเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดูแล้วแสนจะเลวร้ายของฉันฉันพบเจออุปสรรคมากมายพบเจอสิ่งเลวร้ายมากมายไม่มีแม้เพื่อนคอยปลอบใจฉันจึงรู้ซึ้งดีว่าคนที่รักเราเท่าชีวิตอย่าไปคิดให้ไกลตัวเลยคุณแม่ที่แสนดีของฉันนั่นเองฉันตั้งใจว่าจะเรียนให้จบเป็นครูตามที่หวังไว้ไม่ว่ามันจะมีอุปสรรคขนาดไหนแต่ถ้ามีแม่คอยเดินข้างๆ ฉันพร้อมที่จะสู้แม้เส้นทางมันจะเหนื่อยขนาดไหนฉันรู้ดีว่าของขวัญวันแม่คือได้เห็นลูกเป็นเด็กดีน่ารักเสมอต้นเสมอปลายตั้งใจเรียนเรียนจบให้แม่ภูมิใจ
         วันแม่แห่งชาติปีนี้มันคงจะบรรยายความดีของคุณแม่ฉันไม่หมดแต่ของขวัญวันแม่หนูคงต้องทำให้ได้อาจไม่ใช่วันแม่ปีนี้แต่สักวันหนึ่งของขวัญวันแม่ก็จะเป็นจริงตามที่ตั้งใจไว้  หนูรักแม่นะค่ะขอให้แม่มีสุขภาพที่แข็งแรงแบบนี้เสมอขอให้อยู่เป็นกำลังใจเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรกับลูกคนนี้ตลอดไปและคุณแม่เป็นแบบอย่างที่ดีของหนูเสมอมาไม่มีแม่คนนี้  คงไม่มีหนูในวันนี้  ทุกข้อความล้วนออดมาจากใจจริงและล้วนเป็นความจริงที่คุณแม่ของฉัน
     

กิจกรรมที่ 9

                                                             ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี

           


            เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข   มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน



 

กิจกรรมที่ 8

                                                    ครูมืออาชีพในทัศนะคติของข้าพเจ้า
          การเป็นครูมืออาชีพในความคิดของดิฉัน สำหรับความคิดที่ได้เรียบเรียงพร้อมศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความคิดที่แปลกใหม่มาแล้วนั้นคือ  อย่างแรกต้องรักในวิชาชีพครูก่อนเพราะถ้าเราทำอะไรด้วยใจรักแล้วสามารถทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จได้
        การเป็นครูต้องมีเมตตาศิษย์อย่างจิงใจ รักลูกศิษย์เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเด็กเก่งหรือไม่เก่ง  ไม่แบ่งแยกคนเก่งกับไม่เก่งออกจากกันและชอบสอนแต่เด็กเก่งๆ เพราะนั่นหมายความว่าครูไม่ได้ผลิตครูอย่างทั่วถึงแต่เป็นการทำหน้าที่แบบผ่าน ๆ 
        ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ให้ลูกศิษย์ดูก่อน  ไม่ใช่แค่ตักเตือนแต่ครูไม่ได้ทำให้ดู ขณะที่สอนครูควรมีอารมณ์ขันอยู่เสมอเพื่อให้บรรยากาศน่าสนใจ  รู้ว่าเวลาไหนเล่นเวลาไหนต้องทำหน้าที่        ครูไม่ใช่เท่าแต่สอนแค่ในโรงเรียนแต่ควรมีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับชุมชนด้วย 
และสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียนทุกเรื่อง
         นอกจากด้านคุณธรรมจริยธรรมแล้ว  ครูมืออาชีพต้องมีความรู้ที่สามารถถ่ายทอดแล้วได้ผลจิงคือสอนนักเรียนเข้าใจในเนื้อหานั้นอย่างถ่องแท้และเตรียมความพร้อมมาอย่างดีในทุกประเด็นเพื่อจะได้ถ่ายทอดด้วยเวลาที่ไม่มาก  หรือพูดอีกนัยนึงว่า  สั้นง่ายแต่ได้ใจความเพราะจะได้นำเวลาที่เหลือทำกิจกรรมการเรียนอื่นๆ ควรดำเนินกรไปพร้อมๆกับการทำกิจกรรมในชั้นเรียนด้วย
         จากที่ดิฉันได้ศึกษาปัญหาของครูฝึกประสบการณ์นั้นก็จะเป็นเรื่องของเด็กไม่เชื่อฟังคุณครู  พูดง่าย ๆ คือเด็กซนแต่ถ้าครูคนใดหรือนักศึกษาคนใดเอาอยู่ก็สามารถประสบความสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้วสำหรับที่ฉันคิดในส่วนของตรงนี้
         นอกจากด้านคุณธรรมจริยธรรมแล้วสำหรับความคิดของดิฉัน  ครูมืออาชีพต้องมีความพร้อม  ครูต้องกล้าเสี่ยงกล้าที่จะทดลองใช้วิธีสอนอุปกรณ์ใหม่ๆ ต้องสอนให้นักเรียนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  ควรมีวิธีการสอนที่น่าสนใจและควรดำเนินการตามแผนที่วางไว้สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์  การจัดระบบได้อย่างเหมาะสมยอมรับผู้เรียนได้ทุกคน
                 ให้ปลาหนูตัวหนึ่ง  หนูกินได้หนึ่งวัน  สอนให้หนูหาปลา หนูมีปลากินได้ตลอดชีวิต