วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ใบกิจกรรมที่ 2 ทฤษฎีการบริหารการศึกษา



                                                ใบกิจกรรมที่ 2
ทฤษฎีการบริหารการศึกษา

มาสโลว์
  เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษย์นิยม เขาพัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ มาสโลว์แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ
2.ความต้องการความปลอดภัย
3.ความต้องการทางสังคม
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริง


แมคเกรเกอร์
    เป็นผู้เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงมุมมองตามทฤษฎี X ไปมุมมองตามทฤษฎี Y ทฤษฎีX มองว่าพนักงานเกียจคร้าน แต่มุมมอง Y มองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ


วิลเลี่ยม โอชิ
ได้ศึกษาการจัดการของโลก 2 ค่ายคือค่ายอเมริกันและค่ายญี่ปุ่นศึกษาจุดเด่นของการบริหารว่าก่อนจะเข้าใจทฤษฎี  Z ต้องเข้าใจ ทฤษฎี A และ J ก่อน


 ทฤษฎี A
คือ
 การบริหารจัดการ ต้องอาศัยการจัดการพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต     
 
ทฤษฎี J
   คือ  การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น คือมีการเลื่อนตำแหน่ง มีความผูกกัน


วิลเลี่ยม โอชิ
  นำทฤษฎี 2 ทฤษฎีมาวิเคราะห์ รวมเรียกว่าทฤษฎี 2 เป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ


Henri Fayol
บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่  เป็นทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ สนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ  ประกอบด้วยกิจกรรม 5 อย่าง

1. การวางแผน
2.การจัดองค์การ
3.การบังคับบัญชา
4.การประสานงาน
5.การควบคุม

อังริ ฟาโยล
มีหลักการจัดการ
14 ประการ
การจัดแบ่งงาน
,การมีอำนาจหน้าที่, ความมีวินัย, เอกภาพของสายบังคับบัญชา, เอกภาพในทิศทาง, ผลประโยชน์ของหม่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน, มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม, ระบบการรวมศูนย์, สายบังคับบัญชา,ความเป็นระบบระเบียบ, ความเท่าเทียมกัน, ความมั่นคง, การริเริ่มสร้างสรรค์,
วิญญาณแห่งหมู่คณะ

แมกซ์ เวเบอร์
ได้สรุปแนวคิด
6 ประการดังนี้ คือ

 1.องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
2.องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
3.ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
4.องค์การต้องมีระเบียบและกฏเกณฑ์
5.ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
6.การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ

Luther Gulick
ให้ความสำคัญการควบคุม การที่การประสานงาน จะต้องสร้างขอบข่ายการควบคุมให้มีประสิทธิภาพ


เฮร์ซเบอริก
ได้สรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์ประกอบด้วย
2 ปัจจัยคือ
1. ปัจจัยภายนอก

2.ปัจจัยภายใน

เทย์เลอร์
ได้พัฒนาวิธีการจ่ายค่าจ้างต่อหน่วยแบบสองระดับ


Gantt
เป็นผู้มีชื่อเสียงในด้านการนำกราฟมาเป็นสื่อในการอธิบาย การวางแผน การจัดการ


Frank B. & Lillian M. Gilbreths
เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพ








 




วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555


                                                                ใบกิจกรรมที่ 1
ความหมายของคำว่า การบริหาร การศึกษา การบริหารการศึกษา

การบริหาร
  คือ  การทำงานตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน โดยการใช้ศาสตร์และศิลปะมาใช้ในการบริหาร ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
การศึกษา     คือ  การสร้างประสบการณ์ให้เกิดความเจริญงอกงามทั้งร่างกาย อารมณ์สังคมและสติปัญญา
การบริหารการศึกษา  คือ  กิจกรรมที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาทั้งด้าน ความรู้ ความสามารถ พฤติกรรม และคุณธรรม ให้มีเป้าหมายตามที่สังคมต้องการ
 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
 ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการบริการอื่นๆ

1.ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ การบริหารราชการแผ่นดิน มีความประสงค์เพื่อความอยู่ดีกินดี ส่วน    การบริหารการศึกษา มุ่งเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
2.บุคคล
   2.1 ผู้ให้บริการ บุคคลที่ให้บริการทางการศึกษาคือ ครูอาจารย์ผู้อำนวยการ  ผู้บริหารต้องเป็นคนที่มีคุณภาพ  เป็นคนดี แตกต่างจากผู้บริหารราชการแผ่นดิน
   2.2 ผู้รับบริการ ผู้รับบริการในการบริหารการศึกษา  จะเป็นเด็กเยาว์วัย  ส่วน บุคคล ที่รับบริการ ราชการแผ่นดินคือคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
3.กรรมวิธีในการดำเนินงาน การบริหารการศึกษา เป็นกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อน การบริหารราชการและการบริหารธุรกิจจะนำไปใช้ไม่ได้
4.ผลผลิต การบริหารการศึกษา เน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพทางการศึกษา ส่วนผลผลิตทางการ
บริหาราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจ เป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้ง่าย เช่นมีคลองระบายน้ำ
ภารกิจทางการบริหารการศึกษา  หรืองานบริหารการศึกษาโดยทั่วไปแบ่งได้ 5 ประเภท
1.การบริหารวิชาการ  เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการสอน ครอบคลุมเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อ เป็นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
2. การบริหารธุรการ  เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการเงิน วัสดุครุภัณฑ์ และงานบริการอื่นๆ
3. การบริหารงานบุคคล เป็นการสรรหาบุคคลเข้ามาเป็นครู
4. การบริการกิจการนักเรียน เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับนักเรียน เช่นการปฐมนิเทศ การปกครองนักเรียนสามารถเสริมสร้างให้นักเรียนเป็นคนดีคนเก่งได้
5. การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน  เป็นการบริหารงานกับชุมชน  สามารถทำให้นักเรียนมีคุณภาพ เพราะเมื่อเรียนแล้วสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ได้




 

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำตนเอง

                                                ประวัติส่วนตัว
ชื่อ : นางสาวทิพวรรณ  หนูแก้ว  ชื่อเล่น  แก้ว
วันเกิด           :  วันจันทร์ที่  21  ตุลาคม  2534
ที่อยู่ปัจจุบัน  :  29 หมู่ 9 ตำบลท่าเรือ
อำเภอเมือง     จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
สัญชาติ         : ไทย   ศาสนา พุทธ 
คติประจำใจ   :  ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
กิจกรรมยามว่าง   : อ่านหนังสือ ฟังเพลง
ความสามารถพิเศษร้องเพลง วาดภาพทิวทัศน์
ประวัติการศึกษา
จบชั้นประถมจาก  :   โรงเรียนตรีเอการาม
จบชั้นมัธยมจาก   :    โรงเรียนตรีนิมิตรวิทยา
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษาที่มหาวิยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail   :  hnukaew34@gmail.com