วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ใบกิจกรรมที่ 5

                                                                   ครูในดวงใจ


   
ประวัติ
ชื่อ          
:   ครู วาริณี พรมศรี
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ปีที่จบ 2003 · กศ.ม.  คณิตศาสตร์ · Phitsanulok   ปริญญาโท
โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย :
จักรคำคณาทร ลำพูน    ปีที่จบ 1993 · Lamphun  ม.4-6โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูนLamphunม.1/3
ปรัชญา   :   คิดดี ทำดี แล้วจะได้ดี
บุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจของครู วาริณี :
 คนที่เรารักและคนที่รักเรา
กีฬาที่ชื่นชอบ              :
   แบตมินตัน
ศิลปะและความบันเทิง :
แพ้ใจ ใหม่ เจริญปุระ
ดนตรี                           : 
รักไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ภาพยนตร์                    :  
กวน มึน โฮ  ,สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก
กิจกรรมและความสนใจ  :
 อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ที่ยว
        คนธรรมดาคนหนึ่งแต่ทำอะไรทำจริง อดทน ไม่คาดหวัง ใช้ชีวิตในทุกๆวันอย่างมีความสุข ตั้งใจ สนุกสนานในการทำงาน และมีอะไรพิเศษสำหรับครอบครัว แค่นี้ก็ภูมิใจแล้ว
ตำแหน่ง                         :    ครูชำนาญการ
สถานที่ทำงาน                :   โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน

ข้อมูลด้านการศึกษา

                          ระดับปริญญาตรี  สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (คบ.)    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
                          ระดับปริญญาโท  สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (กศ.ม.)    มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

ผลงานดีเด่น
  ครูแกนนำสาขาคณิตศาสตร์   ปีการศึกษา 2545
  ครูต้นแบบสาขาคณิตศาสตร์  ปีการศึกษา 2548
   ครูดีในดวงใจระดับโรงเรียน  ปีการศึกษา 2550
  ครูที่ปรีกษาดีเด่นในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ปีการศึกษา 2545
   รางวัลหนึ่งแสนครูดี  ของคุรุสภา   ปีการศึกษา 2554 

สิ่งที่ดีของครูที่นำมาประยุกต์ใช้ได้

              
จากการที่ได้ศึกษาประวัติและผลงาน  ของครูวาริณีพรมศรี แล้วประทับใจมากเพราะทั้งระบบการสอนของครูนั้นบอกได้เลยว่าไม่ธรรมดาเลย  เพราะครูวาริณีบอกว่าการเป็นครูคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรคณิตศาสตร์แนวใหม่ครูผู้สอนไม่ควรทิ้งการปูพื้นฐาน
  การเข้าใจที่มา  เน้นการคิด
เชิงวิเคราะห์พร้อมทั้งควรสร้างโจทย์ปัญหาและแนวข้อสอบที่หลากหลาย
  โดยครูที่มีคุณภาพในการ
สอน
  ควรสอนอย่างจริงจัง  ควรสอนที่ใช้สื่อ  อุปกรณ์  และแหล่งเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ มากมาย  ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจน  พร้อมควรเสริมด้วยเทคนิคคิดเลขเร็ว  โจทย์ปัญหาที่ท้าทายความคิด  ปรับเนื้อหาเข้ากับระดับความสามารถของนักเรียนแต่ละกลุ่มในช่วงชั้นที่ทำการสอน  มีการทดสอบวัดระดับและติดตามผลการเรียนอย่างต่อเนื่อง   การจัดการเรียนรู้ในบรรยากาศ
สนุกสนาน
  เอื้อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มความมั่นใจในการเรียนเพื่อผลการเรียนที่ดีขึ้นวิธีที่สามารถนำเป็นแนวทางได้คือ


การปลดล็อคการสอนคิดคณิตศาสตร์

 
             
ในการสอนคิดคณิตศาสตร์
  เป็นกระบวนการคิดที่ครูผู้สอนนำขั้นตอนกระบวนการคิดเพื่อ
แก้ปัญหานำมาใช้อย่างรู้ตัว
  โดยอาจดำเนินไปเป็นขั้นตอนของกระบวนการคิด  เพื่อใช้ในการสอนคิดคณิตศาสตร์  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

              ขั้นที่ การปลดล็อคทางความคิด  เป็นขั้นตอนให้ครูผู้สอนได้ปลดล็อคความคิดเก่าเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้  โดยคำนึงถึงเทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
               ขั้นที่ การนำความคิดเข้าสู่ปัญหา เป็นการศึกษาของสภาพปัญหาว่าเป็นอย่างไร  ปัญหาเกิดจากอะไรบ้าง  ซึ่งเป็นการค้นพบปัญหาที่อาจจะเป็นไปได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
              ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อวิเคราะห์ปัญหา เป็นการศึกษา  วิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์ 
ให้รู้ว่าปํญหาที่แท้จริงคืออะไรแน่  และอะไรบ้างที่ไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง
             
ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อระบุปัญหา เป็นการนำเอาปัญหาที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงมาเป็นประเด็นสำคัญในการศึกษา  รวบรวมข้อมูลสำหรับแต่ละเรื่อง
             
ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดเป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหานั้นๆ  ว่าจะให้ผลสัมฤทธิ์ทางด้านใด  เป็นปริมาณมากน้อยเพียงใด  มีคุณค่าสูงต่ำเพียงใด
              
ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อตั้งสมมติฐาน เป็นการเสนอแนวทางและวิธีการในการแก้ปัญหาให้ตรงกับสาเหตุของปัญหาที่อาจจะนำให้สามารถแก้ปัญหานั้นได้สำเร็จ
            ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อทดลองหรือทดสอบสมมติฐาน เป็นการนำวิจัยแก้ปัญหาในขั้นตั้งสมมติฐานไปใช้ในการแก้ปัญหา
           
ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อสรุปผลและรายงานผล  เป็นการสรุปผลและรายงานผลในการสอนคิดคณิตศาสตร์  โดยใช้กระบวนการคิดในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้
           
ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อการนำไปใช้  เป็นการนำความคิดเพื่อการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
          สอนคิดคณิตศาสตร์  เน้นการเรียนแบบมีส่วนร่วมและกระบวนการคิดแก้ปัญหา

นอกจากนี้ ยังมีข้อเตือนใจอีกว่าเราเรียนคณิตศาสตร์ไปเพื่ออะไร
      
               
เป้าหมายสูงสุดของการเรียนคณิตศาสตร์ก็คือ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน   และการนำไปใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาวิชาชีพต่าง ๆ   หลายคนอาจสงสัยว่า ไม่เห็นต้องเรียนคณิตศาสตร์มากนัก บวก ลบ คูณหารจำนวนเราก็มีเครื่องคิดเลขใช้แล้ว  นับว่าเป็นความเข้าใจผิด  คณิตศาสตร์มิใช่เพียงต้องให้คิดคำนวณเกี่ยวกับตัวเลขเท่านั้น  ในโลกยุค ปัจจุบันเมื่อเรา
เรียนคณิตศาสตร์เราควรได้คุณสมบัติต่อไปนี้จากการเรียน
      
            1. ความสามารถในการสำรวจ
            2. ความสามารถในการคาดเดา
            3. ความสามารถในการให้เหตุผล
           4.  ความสามารถในการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาที่ไม่เคยพบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       
               
การเรียนรู้คณิตศาสตร์    ถ้าเราถูกสอนโดยวิธีครูบอกความรู้ หรือเทคนิคลัด ๆ ให้ท่องจำ
นำไปใช้โดยปราศจากความเข้าใจ ไม่รู้ที่มา ไม่รู้เหตุผล
  เราก็จะไม่ได้คุณสมบัติดังกล่าว   อะไรคือหัวใจสำคัญของคณิตศาสตร์  เมื่อเราเรียนคณิตศาสตร์ไปจนถึงระดับ มัธยมศึกษา เราควรได้สิ่งต่อไปนี้

            
  1. มีความรู้ใน คำศัพท์ บทนิยาม หลักการ ทฤษฎีบท  โครงสร้าง วิธีการ
               2. มีความเข้าใจ ในความคิดรวบยอดจนสามารถอธิบายได้ หรือเขียนได้ หรือยกตัวอย่างได้  แปลงปัญหาจากรูป  หนึ่งไปสู่รูปหนึ่งได้ ประมาณคำตอบได้ ระบุความสัมพันธ์ได้  ตรวจสอบผลที่เกิดได้
               3. มีทักษะต่าง ๆ ดังนี้  ทักษะการแก้ปัญหา การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง การคิดอย่างมีเหตุผล การคิดคำนวณ  การวัด   การประมาณ  การอ่านและแปลผลข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การทำนาย  และการใช้คอมพิวเตอร์
               4. มีความสามารถในการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้
 

                นอกจากนี้ครูวาริณียังใช้สื่อคอมพิวเตอร์และมีบทความต่าง ๆ มากมายซึ่งฉันได้ศึกษาและนำมาฝากเพื่อนๆ  ที่สนใจและอยากให้ได้อ่านกันเพราะที่ฉันศึกษานั้นเชื่อเหลือเกินว่ามีสารประโยชน์มาก


บทความคณิตศาสตร์
"เครื่องช่วยจอดรถยนต์"
             นักวิทยาศาสตร์นาม Bryan Rickett เปิดเผยกับวารสาร New Scientist ว่าในอนาคต
(อันไม่ไกลเกินรอ) ผู้ขับรถทั้งมือใหม่หัดขับและมือโปรขับเก่งจะไม่ต้องเสียอารมณ์กับการหาที่จอดรถ
(เหมาะๆ) อีกต่อไป Rickett ทำงานให้กับ Roke Manor Research ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาระบบช่วยจอดรถ “Vehicle Parking Assistant” หลักการของเครื่องช่วยจอดรถนี้คือการติดตั้งตัวรับเรดาร์และกล้องถ่ายรูปเข้ากับรถยนต์ เพื่อคำนวณขนาดและตำแหน่งของที่จอดรถว่า พื้นที่ดังกล่าวเพียงพอสำหรับการจอดรถของท่านหรือไม่ หากพื้นที่ดังกล่าวเหมาะสมสำหรับการจอด จะเข้าจอดอย่างไรจึงจะไม่ชนรถคันอื่น ๆ หรือสิ่งกีดขวาง เครื่องช่วยจอดรถนี้จะเป็นผู้บอกคุณแทนเด็กโบกรถ
               เครื่องช่วยจอดรถนี้เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร การทำงานของเครื่องช่วยจอดรถใช้เทคนิคที่เรียกว่า multilateration เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งไว้รอบ ๆ
คันรถมาประกอบเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น  เซ็นเซอร์สี่ตัวที่ติดตั้งไว้ที่กันชนด้านหน้าของรถจะส่งสัญญาณ สัญญาณดังกล่าวจะถูกสะท้อนกลับโดยสิ่งกีดขวางที่อยู่ในระยะที่กำหนด เวลาที่สัญญาณใช้ในการสะท้อนกลับนั้นขึ้นอยู่กับระยะห่างระยะหว่างสิ่งกีดขวางกับตัวเซ็นเซอร์ ค่าที่ได้นี้จะนำไปสู่ระบบ สมการอเชิงเส้น
16 สมการซึ่งเกี่ยวข้องกับพิกัดจุดของตัวเซ็นเซอร์
(ตำแหน่งของตัวเซ็นเซอร์ที่เราติดตั้ง) และตำแหน่งพิกัดจุดของสิ่งกีดขวางซึ่งเป็นตัวไม่ทราบค่า การแก้สมการทั้ง 16 สมการประกอบกับการแก้ปัญหาทางเรขาคณิต และภาพที่ได้จากกล้องถ่ายภาพที่ติดตั้งกับตัวรถ ให้ภาพตำแหน่งของที่จอดรถที่เหมาะสม เครื่องช่วยจอดรถนี้ได้ถูกนำมาทดลองกับรถยนต์แล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และคาดว่าจะได้นำออกมาใช้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
        และยังมีวิธีเรียนคณิตศาสตร์อย่างไรเรียนให้เก่งเป็นอีกบทความหนึ่งที่น่าสนใจที่ฉันนำมาฝาก

เราต้องเริ่มฝึกฝนการเป็นผู้เรียนที่ดี
โดยสามารถทำได้ตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
         1.  เวลาฟังครู หรือเวลาอ่าน ต้อง คิด ถาม จด ถ้าไม่เข้าใจควรจดคำถามไว้เพื่อคิดค้นคว้า หรือ ถามผู้รู้ต่อไป
         2.  หมั่นดูหนังสือหรือทำการบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ควรหามุมอ่านหรือทำการบ้านที่เหมาะสมกับตนเอง
         3.  จัดเวลาสำหรับทบทวนสิ่งที่เรียนมา หรืออ่านล่วงหน้าสิ่งที่จะเรียนต่อไป และถ้าปฏิบัติตามที่กำหนดได้ควรให้ รางวัลตัวเอง เช่น ได้ขนม ได้เล่น ได้ฟังเพลง ดูทีวี ได้เล่นกีฬา เป็นต้น ถ้า ทำไม่ได้ตาม กำหนดควรหาเวลาชดเชย
        4.  ทบทวนความรู้กับเพื่อน อย่าหวงวิชา แบ่งปันความรู้อธิบายให้กันและกัน อย่าช่วยเหลือ
เพื่อนในทางที่ผิด เช่น ทุจริตเวลาสอบ หรือให้ลอกงานโดยไม่เข้าใจ
        5.  ศึกษาด้วยตนเอง มิใช่ต้องเรียนจากครูเพียงอย่างเดียว การศึกษาด้วยตนเองจากตำราหลายๆ เล่ม ต้องทำ ความเข้าใจจดสาระสำคัญต่าง ๆ ลงในโน้ตย่อ จดสิ่งที่ไม่เข้าใจไว้ค้นคว้าต่อไป ถ้าต้องการเชี่ยวชาญ คณิตศาสตร์ ต้องหมั่นหาโจทย์แปลกใหม่มาทำมาก ๆ เช่นโจทย์แข่งขัน เป็นต้น
        6. รู้ ๆ กันอยู่ว่า คณิตศาสตร์มีสูตร มีทฤษฎีมากมาย ทำอย่างไรถึงจะจำได้หมดล่ะ ­ เราต้องเรียนด้วยความเข้าใจเสียก่อน จากนั้นเราต้องหมั่นทบทวน ก่อนอื่นเราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การจำการลืมก่อน

         ดังนั้น   จึงสรุปได้ว่า เราควรทำความเข้าใจกับเรื่องนั้นๆ เสียก่อน และหมั่นทบทวนทุกวันด้วย  ถ้าอยากจำได้ดีและเข้าใจในเรื่องนั้นๆมากขึ้น เราควรที่จะ มองเปรียบเทียบคณิตเรื่องนั้นกับ เรื่องราวในชีวิตประจำวัน เช่น มองสิ่งต่างๆที่พบเจอเป็นคณิตศาสตร์ เป็นต้น
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น