1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
การสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively Guided Instruction: CGI): รูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนแนะให้รู้คิดได้แก่
ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญานิยมเน้นผู้เรียนลงมือกระทำกระตือรือร้นเรียนรู้ด้วยตนเอง
จองพีอาเจต์ โจโรม เอส บรูเนอร์ บอกว่า เมื่อเกิดการเรียนรู้สามารถทำให้มีสติปัญญาได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนคือ
1. ผู้เรียนมีความแตกต่างผู้สอนต้องเข้าใจ
2. ผู้เรียนเป็นคนลงมือกระทำแต่ผู้สอนแค่ชี้แนะ
3. การเรียนเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวไปไกลตัว
บรูเนอร์ บอกว่า การเรียนรู้เริ่มจากผู้เรียนอยากรู้อยากเห็น
อ๊อสชุเบล การเรียนรู้เกิดจากการเรียนรู้และเกิดความคิดรวบยอด
หลักการจัดรูปแบบของการสอนแนะให้รู้คิดมีหลักการคือ
ความรู้ของครูบวกกับความเชื่อการตัดสินใจมาเสนอการจัดการในชั้นเรียน ทำให้นักเรียนเกิดควมเข้าใจและแสดงพฤติกรรมนั้นออกมา เป็นการเรียนรู้ของนักเรียน
หลักการของการจัดการเรียนรู้แบบการสอนให้รู้คิด
1. การจัดการสอนเน้นความเข้าใจเกิดทักษะแก้ปัญหา
2. ให้นักเรียนลงมือกระทำ
3. นักเรียนเกิดภาพ มโนทัศน์
4. มีการประเมินบ่อย ๆ เป็นการถามตอบ
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
1. ครูนำเสนอปัญหาในการเลือกควรเลือกปัญหาที่น่าสนใจสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนแก้ปัญหาและคอยชี้แนะ
3. นักเรียนนำเสนอการแก้ปัญหาอาจเลือกถามนักเรียนเป็นรายบุคคล
4. ครูนักเรียนร่วมกันอภิปรายและชี้แนะวิธีการที่แตกต่าง
บทบาทครูผู้สอนและบรรยากาศ
ครูควรชี้แนะในขณะผู้เรียนทำกิจกรรม, ครูควรมีความกระตือรือร้น, ครูควรเตรียมสื่อให้พร้อม, ครูควรให้โอกาสในการทำกิจกรรมของนักเรียน, ควรหาปัญหาที่เหมาะสมกับนักเรียน, ควรจัดให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง,ควรมีการให้นักเรียนทำงานกลุ่ม ใช้เวลาที่เหมาะสม, ไม่ควรเตรียมการสอนที่ตายตัวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการเวลาที่เหมาะสม
2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ตอบ จากการที่ได้ศึกษาบทความสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เพราะในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สอนแนะให้รู้จักคิดนี้ดี เพราะจะเห็นได้ว่าปัจจุบันเด็กไทยแก้ปัญหาโจทย์คิดวิเคราะห์ไม่ค่อยได้เราจึงไม่ควรเป็นครูที่เท่าแต่คอยบอก คอยทำให้แต่ควรให้แนวทางพอให้นักเรียนเข้าใจ เมื่อนักเรียนเข้าใจก็สามารถไปวิเคราะห์และทำโจทย์ได้ ความคิดของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันเราควรให้นักเรียนนำเสนอแนวคิดทั้งกับเพื่อนทั้งกลุ่มและเดี่ยวอะไรที่เป็นข้อแตกต่างก็จะนำมาเป็นประเด็นสำคัญและทำให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น พอเรานำมาประเมินผลก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ สามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้เพราะแนวคิดนี้จะใช้ครูเป็นเพียงแนวทางชี้แนะ แต่จะเน้นหลักในการฝึกให้นักเรียนคิดเองเป็น บวกกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวและความรู้ที่ใกล้ไปไกล สามารถทำให้นักเรียนเข้าใจสามารถคิดวิเคราะห์ปัญหาเป็นดีกว่าเพียงให้นักเรียนท่องจำและเอาเนื้อหาแต่ตำรา
ความเป็นครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในขณะที่พระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมที่ใดพระองค์ทรงทำให้ดูก่อนทุกครั้ง ไม่ว่าสถานที่นั้นจะเป็นดินโคลนหรืออย่างไร เพื่อเป็นแรงและกำลังใจก่อน พระเจ้าอยู่หัวบอกว่าการทำอะไรต้องคิดด้วยว่าถูกต้องหรือเปล่ามีเหตุผลมากน้อยเพียงใด ความสุขหรือความทุกข์เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และมีอีกคือต้องระมัดระวังปากคำพูดด้วย การเป็นผู้นำนั้นต้องเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน เพราะก่อนจะให้นักเรียนดีครูต้องดีก่อนก่อนจะสอนให้เด็กทำอะไรครูต้องเป็นก่อน การเป็นครูของในหลวงนั้นทำในห้องก็อีกอย่างหนึ่งนอกห้องก็ต้องอีอย่างหนึ่งต้องเรียนอย่างจิงจังทำอะไรก็ต้องจิงจัง
และธรรมชาติก็สร้างมาอย่างนั้นไม่ควรไปสู้กับธรรมชาติ ควรที่จะปรับตัวเข้าหา และการที่ได้ไปเรียนเมืองนอกก็ใช่ว่าจะดีพร้อม ประเทศไทยก็มีอะไรที่ดีให้ศึกษา เหมือนกับมีเงินเป็นล้านแต่ทำอะไรที่ไม่มีประโยชน์หรือขาดสติก็ไม่ได้ผล ไปอยู่ที่ใดก็ไม่ควรลืมหลักเดิมของเรา และต้องเป็นคนที่มีเมตตา และที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือความสามัคคีในประเทศ
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ตอบ จากบทความนี้มีประโยชน์มากเพราะการเป็นผู้นำหรือถ้าเราไปเป็นครูเราต้องเป็นครูที่ดี ก่อนที่เราจะให้นักเรียนเป็นนักเรียนที่ดีมีวินัยเราควรเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน และต้องทำอย่างจิงจังเหมือนกับถ้าเราเป็นครูต้องรักในอาชีพครู ควรมีทั้งการสอนในห้องเรียนและนอกห้องเรียน และเด็กในปัจจุบันก็มีความสามารถที่ไม่เหมือนกันเราควรปรับตัวด้วย และเรายังสามารถนำไปสอนให้กับ
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ สามารถนำมาออกแบบการเรียนการสอนได้เช่น พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษามากเราก็สามารถนำมาสอนเด็ก ๆ ให้ตั้งใจเรียนได้ และจากบทความเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนว่า การศึกษาไม่จำเป็นต้องเรียนต่างประเทศก็สามารถประสบความสำเร็จได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น