วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบปลายภาค

                                           
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร


 รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี
    สัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นรวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึงการที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อยู่ในพื้นที่วงกลมสีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ
           สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้ 
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ


วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
       

             
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน
ปรับตัวของภาคราชการไทยในภาพรวม
             ราชการไทย นอกจากเราจะต้องปรับตัวเพื่อรองรับต่อผลกระทบแล้ว ภาคราชการไทยควรจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันในเรื่องของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนด้วย     จึงควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียนด้วย เกือบทุกกระทรวงในขณะนี้ก็เกี่ยวข้องกับอาเซียน   ข้าราชการไทยจะต้องมีบทบาทในการผลักดันการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และบทบาทในการผลักดันให้ไทยกลับมามีบทบาทที่โดดเด่นในเวทีอาเซียนอีกครั้งหนึ่ง
ข้าราชการไทย

    
เราจะต้องรู้เรื่องอาเซียนมากขึ้น ภาคราชการไทยจะต้องมีการตื่นตัวในการรับรู้เกี่ยวกับ
อาเซียนมากขึ้น
     เราจะต้องพยายามที่จะรู้จักประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น   เราจะต้องรู้จักภาษาของประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น    เราจะต้องปรับ ต้องเปลี่ยน เรื่องนี้โยงไปหลายเรื่อง อย่างเช่น ปัญหาความขัดแย้งไทยกับกัมพูชา  รากเหง้าของปัญหา คือ เราไม่สนใจประเทศเพื่อนบ้าน เราจะต้องสร้างคนรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน และมองประเทศเพื่อนบ้านในแง่บวก ไม่ใช่มองเป็นศัตรู
    อย่างไรก็ตาม อาเซียนได้ตัดสินใจแล้วว่า ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของอาเซียน
ดังนั้น ในอนาคต ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างประชาชนของอาเซียนมากขึ้น รวมทั้งระหว่างระบบราชการของไทยกับระบบราชการของประเทศสมาชิกอื่น จะมีการพบปะ เจรจา และประชุมกันมากขึ้น เพราะความร่วมมือต่างๆจะเกิดมากขึ้นในทุกมิติ
    สุดท้าย คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และการเปิดกว้างการมีส่วนร่วมของภาค
ประชาชน
วิเคราะห์สมาคมอาเซียน
      จะเห็นได้ว่าเมื่อสมาคมอาเซียนเข้ามามีบทบาทกับประเทศไทยนั้นเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งแต่ไทยก็ต้องมีการปรับตัวมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการสร้างสัมพันธภาพไมตรีกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกอีกทั้งภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากลางของสมาคมอาเซียนไม่ว่าจะเป็นครู ที่จะต้องก้าวทันสถานการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ รวมถึงนักเรียนจากที่นักเรียนคนใดไม่ชอบภาษาอังกฤษก็ต้องเรียนรู้มากขึ้นเพื่อให้ก้าวทันโลกปัจจุบัน   และแต่ละประเทศเข้าร่วมประชุมก็จะมีการเสนอเรื่องต่าง ๆ ที่จะพัฒนากล่าวได้ว่าสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น