วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

แสดงความคิดเห็นการเรียนรู้โดยใช้บล็อก

         
               ฉันคิดว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บล็อกมีทั้งข้อดีข้อเสีย  ข้อดี   คือสามารถทำงานที่อาจารย์สั่งได้ทุกที่ถ้ามีสัญญาณและสะดวกเพราะใช้คอมพิวเตอร์   ไม่ต้องใช้เอกสารมาแจกนักศึกษาในแต่ละคาบ  นักศึกษาสามารถเรียนรู้เทคนิคและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่แปลกใหม่และได้เรียนรู้รู้อะไรต่างๆ มากมาย  การเรียนรู้โดยใช้บล็อกในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นความรู้ใหม่ของฉัน  ทุกครั้งที่ฉันทำงานที่อาจารย์สั่งงานลงในบล็อกฉันยอมรับว่าฉันตั้งใจมากทุกครั้ง  ไม่ว่าบทความใดที่อ่านจะอ่านอย่างละเอียดถึงแม้ว่าในกรณีที่เป็นวิเคราะห์ฉันอาจทำได้ไม่ดี  แต่นั่นก็เป็นความคิดของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกันอย่างแน่นอนและทุกความคิดก็จะเป็นความคิดของตนเองไม่ได้ลอกเพื่อนคนใดอย่างแน่นอน   ฉันพยายามหางานจากหลาย ๆ เวปไซด์เพื่อจะสามารถนำมาเป็นแนวความคิดที่ดีได้และเพื่อให้เป็นความรู้ที่ดีที่สุดสำหรับคนที่ได้อ่านบล็อกของฉันด้วยบางชิ้นงานจะมีแง่คิดแนวคิดบางชิ้นอ่านแล้วสามารถเป็นกำลังใจให้กับหลายๆ คนได้ด้วย   เมื่ออาจารย์กำหนดวันส่งประมาณสักหนึ่งอาทิตย์ฉันจะรีบทำให้เสร็จตรงตามเวลาด้วยความตั้งใจทุกครั้งถึงบางครั้งงานอาจจะออกมาไม่ดีแต่ด้วยต้องคิดว่าต้องส่งให้ตรงตามเวลา  ถึงแม้ว่างานบางชิ้นที่มีติดขัดก็จะไม่ได้ส่งตามกำหนดไปบ้างแต่ฉันก็จะรีบทำ    และขาดเรียนไปหนึ่งครั้งแต่งานของฉันก็เสร็จตรงตามเวลาทุกๆวันที่เข้าเรียนส่วนมากฉันจะมาเรียนก่อนเวลาเป็นส่วนใหญ่   และฉันก็จะแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทุกครั้ง  ข้อเสีย  คือ  การจัดการเรียนโดยผ่านทางบล็อกก็จะมีบ้างที่อาจทำให้นักศึกษาขี้เกียจและด้วยเวลาที่อาจารย์ให้ทำเยอะทำให้นักเรียนเกิดความคิดว่าเดี๋ยวค่อยทำยังพอมีเวลาจึงอาจทำให้นักศึกษาขาดความรับผิดชอบสำหรับนักศึกษาบางคนวิชานี้ฉันอยากได้เกรด A เพราะฉันรู้ดีว่าฉันตั้งใจทำงานทุกครั้งและให้ความสำคัญกับวิชานี้
              และถ้าจะใช้บล็อกในการจัดการเรียนการสอนในอนาคตข้างหน้าฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะถ้าดูจากการเรียนในครั้งนี้ถ้าแจกเอกสารธรรมดาบางทีเด็กอาจไม่ได้อ่านจริงแต่การเรียนการสอนในครั้งนี้เมื่ออ่านบทความแล้วเราต้องรู้ว่ากล่าวถึงอะไรบ้างและที่มากไปกว่านั้นต้องวิเคราะห์ได้ด้วยความรู้ที่ฉันได้เรียนในครั้งนี้ได้ความรู้ที่แปลกใหม่หลายอย่างและอาจารย์ก็ยังเล่าถึงประสบการณ์การทำงานของท่านด้วยซึ่งถือได้ว่าเป็นความรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำการเรียนรู้โดยการใช้บล็อกไปใช้ได้
      

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง


                                                        บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง   
          การเป็นครูที่ดีและเป็นที่ยอมรับของทุก ๆ คนนั้นเราต้องรักในวิชาชีพครู  สามารถเป็นกำลังใจให้กับนักเรียน นักศึกษา  สามารถยอมรับกับสถานการณ์และสิ่งรอบตัวและสามารถแก้ปัญหาเป็น
ตัวอย่างเช่น  อาชีพครูเป็นอาชีพที่เรียกได้ว่าเป็นแม่พิมพ์ของชาติเยาวชนไทยจะเป็นอย่างไรส่วนหนึ่งก็มาจากครู  ครูต้องหมั่นหาความรู้ที่ดีให้เกิดความรู้ที่กระจ่าง   ก้าวทันโลกสมัยเหมือนกับในปัจจุบันประชาคมอาเซียนได้เข้ามามีบทบาทครูซึ่งอยู่ในหน่วยราชการต้องตื่นตัวอยู่เสมอเพื่อจะได้ถ่ายทอดให้กับศิษย์  สอนนักเรียนอย่างจิงจังและให้นักเรียนสามารถปฏิบัติได้จิง  ทำให้เด็กคิดให้เป็น   และถ้าอะไรที่สามารถสอนนอกห้องเรียนได้ก็ควรพานักเรียนไปศึกษา    แต่ไม่ใช่เท่าแต่ครู   นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่คณะครุศาสตร์สาขาต่าง ๆ ก็ต้องขยันแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาความเป็นครูในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ


แบบทดสอบปลายภาค

                                           
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร


 รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี
    สัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นรวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึงการที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อยู่ในพื้นที่วงกลมสีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ
           สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้ 
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ


วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
       

             
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน
ปรับตัวของภาคราชการไทยในภาพรวม
             ราชการไทย นอกจากเราจะต้องปรับตัวเพื่อรองรับต่อผลกระทบแล้ว ภาคราชการไทยควรจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันในเรื่องของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนด้วย     จึงควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียนด้วย เกือบทุกกระทรวงในขณะนี้ก็เกี่ยวข้องกับอาเซียน   ข้าราชการไทยจะต้องมีบทบาทในการผลักดันการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และบทบาทในการผลักดันให้ไทยกลับมามีบทบาทที่โดดเด่นในเวทีอาเซียนอีกครั้งหนึ่ง
ข้าราชการไทย

    
เราจะต้องรู้เรื่องอาเซียนมากขึ้น ภาคราชการไทยจะต้องมีการตื่นตัวในการรับรู้เกี่ยวกับ
อาเซียนมากขึ้น
     เราจะต้องพยายามที่จะรู้จักประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น   เราจะต้องรู้จักภาษาของประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น    เราจะต้องปรับ ต้องเปลี่ยน เรื่องนี้โยงไปหลายเรื่อง อย่างเช่น ปัญหาความขัดแย้งไทยกับกัมพูชา  รากเหง้าของปัญหา คือ เราไม่สนใจประเทศเพื่อนบ้าน เราจะต้องสร้างคนรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน และมองประเทศเพื่อนบ้านในแง่บวก ไม่ใช่มองเป็นศัตรู
    อย่างไรก็ตาม อาเซียนได้ตัดสินใจแล้วว่า ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของอาเซียน
ดังนั้น ในอนาคต ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างประชาชนของอาเซียนมากขึ้น รวมทั้งระหว่างระบบราชการของไทยกับระบบราชการของประเทศสมาชิกอื่น จะมีการพบปะ เจรจา และประชุมกันมากขึ้น เพราะความร่วมมือต่างๆจะเกิดมากขึ้นในทุกมิติ
    สุดท้าย คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และการเปิดกว้างการมีส่วนร่วมของภาค
ประชาชน
วิเคราะห์สมาคมอาเซียน
      จะเห็นได้ว่าเมื่อสมาคมอาเซียนเข้ามามีบทบาทกับประเทศไทยนั้นเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งแต่ไทยก็ต้องมีการปรับตัวมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการสร้างสัมพันธภาพไมตรีกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกอีกทั้งภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากลางของสมาคมอาเซียนไม่ว่าจะเป็นครู ที่จะต้องก้าวทันสถานการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ รวมถึงนักเรียนจากที่นักเรียนคนใดไม่ชอบภาษาอังกฤษก็ต้องเรียนรู้มากขึ้นเพื่อให้ก้าวทันโลกปัจจุบัน   และแต่ละประเทศเข้าร่วมประชุมก็จะมีการเสนอเรื่องต่าง ๆ ที่จะพัฒนากล่าวได้ว่าสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน



ทดสอบปลายภาค


 1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
                                                
                                                                 บทความแท็บเล็ต

         สุรศักดิ์   ปาเฮ  
  รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่
แท็บเล็ต  เป็นสื่อเทคโนโลยีที่สำคัญ  มุ่งเน้นไปยังนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 
1 จำนวนประมาณ 539,466ปี 2555  ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาสาระที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บแล็ต
ความหมายของแท็บเล็ต  แท็บเล็ต  เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค   พกพาง่ายน้ำหนักเบา   มีคีบอร์ดในตัวหน้าจอสัมผ้ส  ปรับหมุนได้อัตโนมัติ
 แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC : Tablet Personal Computer )
        คือเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทางาน   ได้ทำการเปิดตัว  ในปี
2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก
 แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet Computer / Tablet ) หรือที่เรียกชื่อสั้นๆว่าแท็บเล็ต
          คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ขณะเคลื่อนที่ได้ มีขนาดกลางกะทัดรัดและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นลำดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริง หรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด

ความเป็นมาและร่องรอยทางประวัตศาสตร์ของแท็บเล็ต
       จากการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์และหลักฐานต่างๆที่ค้นพบของการใช้เทคโนโลยีประเภทแท็บเล็ต ( Tablet ) นั้นมีข้อสันนิษฐานและกล่าวกันว่าแท็บเล็ตในยุคประวัติศาสตร์ได้เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้คิดค้นเครื่องมือสาหรับการพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลจากแผ่นเยื่อไม้ที่เคลือบด้วยขี้ผึ้ง  บนแผ่นไม้ในลักษณะของการเคลือบประกบกันทั้ง 2  ด้าน ใช้ประโยชน์ในการบันทึกอักขระข้อมูล หรือการพิมพ์ภาพ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจากบันทึกของซิเซโร ชาวโรมัน
       สันนิษฐานว่าจะมีอายุราวก่อนคริสต์ศตวรรษที่
640-615 ทั้งนี้บริเวณที่ขุดค้นพบจะอยู่แถบตะวันตกเฉียงใต้ของพระราชวังโบราณที่ Nineveh ของ Iraq นอกจากนี้ยังได้พบอุปกรณ์ของการเขียน Wax Tablet โบราณของชาวโรมันที่เป็นลักษณะคล้ายแท่งปากกาที่ทาจากงานช้าง ( Ivory ) ซึ่งหลักฐานที่ปรากฏเหล่านี้ต่างเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงวิวัฒนาการและแนวคิดการบันทึกข้อมูลในลักษณะของการใช้ Tablet ในปัจจุบัน
เกศกาญจน์   บุญเพ็ญ       แท็บเล็ตจะเป็นเพียงตัวช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียนเท่านั้นแต่ไม่สามารถใช้แทนครูได้
นางกฤตยา  หินเธาว์  ครูประจำชั้นป
. 1 /1 โรงเรียนสนามบิน บอกว่าทางโรงเรียนจะไม่ให้แท็บเล็ตกับนักเรียนกลับบ้านเพราะเด็กตัวเล็ก ๆ ไม่สามารถดูแลรักษาได้
นายชินภัทร  แท็บเล็ตไม่ใช่เครื่องมือที่เราสร้างขึ้นเพื่อความหรูหราหรือไฮเทค  แต่จะบอกว่าเราจะบอกว่าเราจะปฏิวัติการเรียนรู้ทางการศึกษาอย่างไร
นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  ประกาศแจกแท็บเล็ตจำนวน
800,000  เครื่อง  แก่เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ อายุ 6-7 ขวบ  งบประมาณกว่า  1000  ล้านบาท
รศ.ดร.สมพงษ์ ตั้งข้อสังเกตว่า  ควรนำไปแจกเด็กที่มีวุฒิภาวะและเป็นวัยที่กระตือรือร้น ในการฝึกทักษะเสาะแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่ใช่นำแท็บเล็ตมาแจกเด็ก ป.1 ซึ่งเป็นวัยที่ยังอ่านไม่ออก  เขียนไม่ได้ ฉะนั้นเด็กเหล่านี้จะไปเสาะแสวงหาข้อมูลได้อย่างไร   อีกทั้งจากงานวิจัย  การแจกแท็บเล็ตนั้น ถือว่าไม่ได้คำนึงถึงความรอบด้านของตัวเด็ก และไม่ได้คิดถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต

         การที่มีนโยบายแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมถือได้ว่ามีทั้งข้อดี และข้อเสีย
ข้อดีก็คือนักเรียนสามารถเรียนรู้อะไรหลาย ๆตั้งเล็ก ๆและการเรียนรู้สามารถฝึกนิสัยรักการเรียนให้กับนักเรียน   และเป็นความสะดวกสะบายที่จะสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นด้วยแต่ถึงอย่างไรแล้วแท็บเล็ตไม่สามารถแทนที่ครูได้และอาจเป็นการมั่วสุมของเด็กคือเด็กจะนำพาไปศึกษาในสิ่งที่ผิดคือนำไปเล่นเกมส์หรืออาจพาไปทำอย่างอื่นที่ไม่มีประโยชน์เพราะพ่อแม่ไม่สามารถที่จะดูแลเด็กๆได้ตลอดเวลา  แต่ก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ถ้าแต่ละโรงเรียนมีการดูแลอย่างเช่นใช้ในเวลาเรียนไม่พากลับบ้าน   และด้วยคำว่าเทคโนโลยยีนั้นก็มีทั้งข้อดีข้อเสียอย่างที่กล่าวมา



กิจกรรมที่ 10 เรียงความเรื่องแม่

                                                                                          เรียงความเรื่องแม่

          
 คำว่าแม่อาจเป็นเพียงคำสั้น ๆ แต่ทุก ๆ คนคงทราบกันดีว่าแม่มีบุญคุณอย่างมหาศาล  เมื่อวันที่  
12  สิงหาคมของทุกปีเวียนมาถึง  ทุก ๆ คนก็จะระลึกได้ว่าที่ผ่านมากี่ปี ๆ ใครเล่าที่คอยอยู่ข้างเราเสมอและไม่เคยหวังสิ่งตอบแทนยอมเจ็บและยอมตายแทนได้  เมื่อลูกเจ็บคนที่เจ็บมากที่สุดก็คือแม่นี่เอง    ยามลูกท้อไม่มีใครที่จะอยู่เคียงข้างแม่ก็จะคอยปลอบใจด้วยความรักและหวังดี  ไม่คิดร้ายอิจฉาริษยาใด ๆ 
         ฉันเป็นหนึ่งคนที่โตมาด้วยความรักของแม่ฉัน   แม่ของฉันเป็นทั้งพ่อ   ทั้งแม่พร้อมกันมาตั้งแต่ฉันเกิดตอนเล็ก ๆ ฉันไม่เคยรู้เลยว่าแม่เลี้ยงฉันมาจะเหนื่อยขนาดไหนแต่พอฉันโตขึ้นฉันสามารถเรียนรู้อะไรหลายอย่างได้   ก็ทำให้ฉันรู้ว่าคน ๆ หนึ่งจะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่คนที่เหนื่อยที่สุดก็คือพ่อกับแม่แต่สำหรับฉันคนที่ฉันรักที่สุดก็คงเป็นแม่ที่แสนดีของฉัน   ฉันยอมรับว่าฉันไม่มีความรู้สึกว่าฉันรักพ่อเลยเพราะอาจเป็นความผูกพันที่ฉันไม่เคยได้รับความรักจากพ่อตั้งแต่เล็ก ๆ  เพราะพ่อฉันทิ้งฉันไปตั้งแต่เล็ก ๆ
        ครอบครัวฉันมีพี่น้อง 6  คนแต่สิ่งที่เป็นสิ่งปลื้มใจนั้นคือแม่ฉันสามารถเลี่ยงลูกเพียงคนเดียวโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและที่สำคัญลูกทุกคนเป็นคนดีขยัน  อดทนเหมือนคุณแม่ของฉัน  ครอบครัวของฉันค่อนข้างจะลำบากแต่แม่ของฉันสามารถเลี่ยงลูกให้มีการศึกษาและจบปริญญาตรีได้ทั้ง ๆ ที่ คุณแม่ของฉันนั้นไม่ได้เรียนหนังสือ   อ่านหนังสือไม่ออก ก็เปรียบเสมือนกับคนตาบอด   ในสมัยก่อนจะทำอาชีพทำนาฉันจำได้ว่าคุณแม่พาฉันลงไปทำนาด้วยและทำของเล่นให้เล่นและทำที่บังแดดให้ด้วย  ในยามที่ฉันไม่สบายคุณแม่ก็จะพาฉันไปหาหมอและดูแลฉันเป็นอย่างดี
       ฉันจำได้ว่าตั้งแต่เล็ก จนปัจจุบันฉันเป็นนักศึกษาเต็มตัวแล้วฉันไม่เคยคิดเลยว่าแม่จะทำให้ฉันมาถึงจุดนี้ได้  ไม่ต้องมีแม่คนใดเป็นต้นแบบของฉันเพราะฉันมีแม่ของฉันเป็นต้นแบบที่ดีเสมอ   ยามฉันท้อไม่มีแม้สักกำลังใจไม่มีใครคอยเข้าใจทะเลาะกับเพื่อนด้วยเรื่องใด ๆ ก็ตามคนที่คอยอยู่ข้าง ๆ เราไม่มีแม้ใครสักคน  แต่ก็ยังมีแม่ของฉันนี่เองที่คอยอยู่ข้าง ๆและทำให้ฉันมีกำลังใจมากขึ้นและสามารถเดินตามความฝันได้ต่อไป   ในชีวิตนี้ฉันคิดว่าคนที่หวังดีและไม่มีอันตรายใด ๆ คือแม่ของฉัน  ฉันไม่เคยรักใครมากกว่าแม่เลย

      
เหตุผลที่ฉันรักแม่อาจเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดูแล้วแสนจะเลวร้ายของฉันฉันพบเจออุปสรรคมากมายพบเจอสิ่งเลวร้ายมากมายไม่มีแม้เพื่อนคอยปลอบใจฉันจึงรู้ซึ้งดีว่าคนที่รักเราเท่าชีวิตอย่าไปคิดให้ไกลตัวเลยคุณแม่ที่แสนดีของฉันนั่นเองฉันตั้งใจว่าจะเรียนให้จบเป็นครูตามที่หวังไว้ไม่ว่ามันจะมีอุปสรรคขนาดไหนแต่ถ้ามีแม่คอยเดินข้างๆ ฉันพร้อมที่จะสู้แม้เส้นทางมันจะเหนื่อยขนาดไหนฉันรู้ดีว่าของขวัญวันแม่คือได้เห็นลูกเป็นเด็กดีน่ารักเสมอต้นเสมอปลายตั้งใจเรียนเรียนจบให้แม่ภูมิใจ
         วันแม่แห่งชาติปีนี้มันคงจะบรรยายความดีของคุณแม่ฉันไม่หมดแต่ของขวัญวันแม่หนูคงต้องทำให้ได้อาจไม่ใช่วันแม่ปีนี้แต่สักวันหนึ่งของขวัญวันแม่ก็จะเป็นจริงตามที่ตั้งใจไว้  หนูรักแม่นะค่ะขอให้แม่มีสุขภาพที่แข็งแรงแบบนี้เสมอขอให้อยู่เป็นกำลังใจเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรกับลูกคนนี้ตลอดไปและคุณแม่เป็นแบบอย่างที่ดีของหนูเสมอมาไม่มีแม่คนนี้  คงไม่มีหนูในวันนี้  ทุกข้อความล้วนออดมาจากใจจริงและล้วนเป็นความจริงที่คุณแม่ของฉัน
     

กิจกรรมที่ 9

                                                             ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี

           


            เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข   มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน



 

กิจกรรมที่ 8

                                                    ครูมืออาชีพในทัศนะคติของข้าพเจ้า
          การเป็นครูมืออาชีพในความคิดของดิฉัน สำหรับความคิดที่ได้เรียบเรียงพร้อมศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความคิดที่แปลกใหม่มาแล้วนั้นคือ  อย่างแรกต้องรักในวิชาชีพครูก่อนเพราะถ้าเราทำอะไรด้วยใจรักแล้วสามารถทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จได้
        การเป็นครูต้องมีเมตตาศิษย์อย่างจิงใจ รักลูกศิษย์เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเด็กเก่งหรือไม่เก่ง  ไม่แบ่งแยกคนเก่งกับไม่เก่งออกจากกันและชอบสอนแต่เด็กเก่งๆ เพราะนั่นหมายความว่าครูไม่ได้ผลิตครูอย่างทั่วถึงแต่เป็นการทำหน้าที่แบบผ่าน ๆ 
        ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ให้ลูกศิษย์ดูก่อน  ไม่ใช่แค่ตักเตือนแต่ครูไม่ได้ทำให้ดู ขณะที่สอนครูควรมีอารมณ์ขันอยู่เสมอเพื่อให้บรรยากาศน่าสนใจ  รู้ว่าเวลาไหนเล่นเวลาไหนต้องทำหน้าที่        ครูไม่ใช่เท่าแต่สอนแค่ในโรงเรียนแต่ควรมีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับชุมชนด้วย 
และสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียนทุกเรื่อง
         นอกจากด้านคุณธรรมจริยธรรมแล้ว  ครูมืออาชีพต้องมีความรู้ที่สามารถถ่ายทอดแล้วได้ผลจิงคือสอนนักเรียนเข้าใจในเนื้อหานั้นอย่างถ่องแท้และเตรียมความพร้อมมาอย่างดีในทุกประเด็นเพื่อจะได้ถ่ายทอดด้วยเวลาที่ไม่มาก  หรือพูดอีกนัยนึงว่า  สั้นง่ายแต่ได้ใจความเพราะจะได้นำเวลาที่เหลือทำกิจกรรมการเรียนอื่นๆ ควรดำเนินกรไปพร้อมๆกับการทำกิจกรรมในชั้นเรียนด้วย
         จากที่ดิฉันได้ศึกษาปัญหาของครูฝึกประสบการณ์นั้นก็จะเป็นเรื่องของเด็กไม่เชื่อฟังคุณครู  พูดง่าย ๆ คือเด็กซนแต่ถ้าครูคนใดหรือนักศึกษาคนใดเอาอยู่ก็สามารถประสบความสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้วสำหรับที่ฉันคิดในส่วนของตรงนี้
         นอกจากด้านคุณธรรมจริยธรรมแล้วสำหรับความคิดของดิฉัน  ครูมืออาชีพต้องมีความพร้อม  ครูต้องกล้าเสี่ยงกล้าที่จะทดลองใช้วิธีสอนอุปกรณ์ใหม่ๆ ต้องสอนให้นักเรียนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  ควรมีวิธีการสอนที่น่าสนใจและควรดำเนินการตามแผนที่วางไว้สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์  การจัดระบบได้อย่างเหมาะสมยอมรับผู้เรียนได้ทุกคน
                 ให้ปลาหนูตัวหนึ่ง  หนูกินได้หนึ่งวัน  สอนให้หนูหาปลา หนูมีปลากินได้ตลอดชีวิต






วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
           การสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively Guided Instruction: CGI):  รูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
           
ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนแนะให้รู้คิดได้แก่
       
              
            
ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญานิยมเน้นผู้เรียนลงมือกระทำกระตือรือร้นเรียนรู้ด้วยตนเอง
จองพีอาเจต์  โจโรม เอส บรูเนอร์ บอกว่า เมื่อเกิดการเรียนรู้สามารถทำให้มีสติปัญญาได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนคือ
 

1. ผู้เรียนมีความแตกต่างผู้สอนต้องเข้าใจ  
2.  ผู้เรียนเป็นคนลงมือกระทำแต่ผู้สอนแค่ชี้แนะ
3.  การเรียนเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวไปไกลตัว

บรูเนอร์   
บอกว่า การเรียนรู้เริ่มจากผู้เรียนอยากรู้อยากเห็น
อ๊อสชุเบล การเรียนรู้เกิดจากการเรียนรู้และเกิดความคิดรวบยอด

หลักการจัดรูปแบบของการสอนแนะให้รู้คิดมีหลักการคือ
    
     
ความรู้ของครูบวกกับความเชื่อการตัดสินใจมาเสนอการจัดการในชั้นเรียน ทำให้นักเรียนเกิดควมเข้าใจและแสดงพฤติกรรมนั้นออกมา เป็นการเรียนรู้ของนักเรียน

หลักการของการจัดการเรียนรู้แบบการสอนให้รู้คิด
     

1.  การจัดการสอนเน้นความเข้าใจเกิดทักษะแก้ปัญหา     
2. ให้นักเรียนลงมือกระทำ     
3. นักเรียนเกิดภาพ มโนทัศน์ 
4. มีการประเมินบ่อย ๆ เป็นการถามตอบ
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
    

1. ครูนำเสนอปัญหาในการเลือกควรเลือกปัญหาที่น่าสนใจสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน    
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนแก้ปัญหาและคอยชี้แนะ    
3. นักเรียนนำเสนอการแก้ปัญหาอาจเลือกถามนักเรียนเป็นรายบุคคล    
4. ครูนักเรียนร่วมกันอภิปรายและชี้แนะวิธีการที่แตกต่าง

บทบาทครูผู้สอนและบรรยากาศ

       ครูควรชี้แนะในขณะผู้เรียนทำกิจกรรม, ครูควรมีความกระตือรือร้น, ครูควรเตรียมสื่อให้พร้อม, ครูควรให้โอกาสในการทำกิจกรรมของนักเรียน, ควรหาปัญหาที่เหมาะสมกับนักเรียน,  ควรจัดให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง,ควรมีการให้นักเรียนทำงานกลุ่ม ใช้เวลาที่เหมาะสม, ไม่ควรเตรียมการสอนที่ตายตัวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการเวลาที่เหมาะสม


2.  ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
   ตอบ จากการที่ได้ศึกษาบทความสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เพราะในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สอนแนะให้รู้จักคิดนี้ดี เพราะจะเห็นได้ว่าปัจจุบันเด็กไทยแก้ปัญหาโจทย์คิดวิเคราะห์ไม่ค่อยได้เราจึงไม่ควรเป็นครูที่เท่าแต่คอยบอก คอยทำให้แต่ควรให้แนวทางพอให้นักเรียนเข้าใจ เมื่อนักเรียนเข้าใจก็สามารถไปวิเคราะห์และทำโจทย์ได้ ความคิดของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันเราควรให้นักเรียนนำเสนอแนวคิดทั้งกับเพื่อนทั้งกลุ่มและเดี่ยวอะไรที่เป็นข้อแตกต่างก็จะนำมาเป็นประเด็นสำคัญและทำให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น พอเรานำมาประเมินผลก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น


3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
  
ตอบ  สามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้เพราะแนวคิดนี้จะใช้ครูเป็นเพียงแนวทางชี้แนะ  แต่จะเน้นหลักในการฝึกให้นักเรียนคิดเองเป็น  บวกกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวและความรู้ที่ใกล้ไปไกล  สามารถทำให้นักเรียนเข้าใจสามารถคิดวิเคราะห์ปัญหาเป็นดีกว่าเพียงให้นักเรียนท่องจำและเอาเนื้อหาแต่ตำรา
อย่างเช่นการสร้างทรงเรขาคณิตที่ทำจากกระดาษแข็งเราต้องเตรียมอุปกรณ์และอธิบายพอให้นักเรียนเข้าใจที่เหลือก็ให้เด็กคิดจินตนาการออกมาเอาแนวทางที่เราสอนขณะที่นักเรียนทำงานเราก็คอยดูแลคอยชี้แนะหลังจากทำกิจกรรมเสร็จก็นำผลงานที่ทำมาเสนอกันในกลุ่มเพื่อนพร้อมถามถึงปัญหาขณะที่ทำ  ดีกว่าเราทำให้ดูแต่เด็กไม่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

ความเป็นครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
          ในขณะที่พระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมที่ใดพระองค์ทรงทำให้ดูก่อนทุกครั้ง  ไม่ว่าสถานที่นั้นจะเป็นดินโคลนหรืออย่างไร  เพื่อเป็นแรงและกำลังใจก่อน  พระเจ้าอยู่หัวบอกว่าการทำอะไรต้องคิดด้วยว่าถูกต้องหรือเปล่ามีเหตุผลมากน้อยเพียงใด  ความสุขหรือความทุกข์เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ   และมีอีกคือต้องระมัดระวังปากคำพูดด้วย  การเป็นผู้นำนั้นต้องเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน เพราะก่อนจะให้นักเรียนดีครูต้องดีก่อนก่อนจะสอนให้เด็กทำอะไรครูต้องเป็นก่อน    การเป็นครูของในหลวงนั้นทำในห้องก็อีกอย่างหนึ่งนอกห้องก็ต้องอีอย่างหนึ่งต้องเรียนอย่างจิงจังทำอะไรก็ต้องจิงจัง

และธรรมชาติก็สร้างมาอย่างนั้นไม่ควรไปสู้กับธรรมชาติ  ควรที่จะปรับตัวเข้าหา  และการที่ได้ไปเรียนเมืองนอกก็ใช่ว่าจะดีพร้อม   ประเทศไทยก็มีอะไรที่ดีให้ศึกษา  เหมือนกับมีเงินเป็นล้านแต่ทำอะไรที่ไม่มีประโยชน์หรือขาดสติก็ไม่ได้ผล  ไปอยู่ที่ใดก็ไม่ควรลืมหลักเดิมของเรา  และต้องเป็นคนที่มีเมตตา   และที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือความสามัคคีในประเทศ
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร

ตอบ
จากบทความนี้มีประโยชน์มากเพราะการเป็นผู้นำหรือถ้าเราไปเป็นครูเราต้องเป็นครูที่ดี  ก่อนที่เราจะให้นักเรียนเป็นนักเรียนที่ดีมีวินัยเราควรเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน  และต้องทำอย่างจิงจังเหมือนกับถ้าเราเป็นครูต้องรักในอาชีพครู  ควรมีทั้งการสอนในห้องเรียนและนอกห้องเรียน  และเด็กในปัจจุบันก็มีความสามารถที่ไม่เหมือนกันเราควรปรับตัวด้วย   และเรายังสามารถนำไปสอนให้กับ

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
  ตอบ   สามารถนำมาออกแบบการเรียนการสอนได้เช่น พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษามากเราก็สามารถนำมาสอนเด็ก ๆ ให้ตั้งใจเรียนได้  และจากบทความเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนว่า  การศึกษาไม่จำเป็นต้องเรียนต่างประเทศก็สามารถประสบความสำเร็จได้






















วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ใบกิจกรรมที่ 7 โทรทัศน์ครู

                                               รายการโทรทัศน์ครู

1.สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน

          ความพันธ์ะหว่างรูปเรขาคณิต
2 มิติ  และ3  มิติ
         
.  สมกมล  ปุณณโกศล       รร. รัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน       ชั้น ม. 1

2.เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง

       
ครูจะเริ่มจากแบบทดสอบก่อนเรียนตามด้วย  และในขณะที่สอนก็จะนำสื่อประดิษฐ์ที่เตรียมมา
โชร์ให้เด็กดูพร้อมทั้งถามตอบหน้าชั้นเรียนเช่น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อนเฉลยก็จะถามนักเรียนว่าเป็นรูป
อะไรเมื่อนักเรียนตอบได้แล้วก็จะถามต่อว่าทำไมถึงเป็นรูปแบบอย่างนั้น ก็เพราะว่า  ด้านตรงข้าม สอง ด้านมีขนาดเท่ากัน
        หลังจากนั้นครูก็ลองเลื่อนรูปซึ่งทำให้รูปเปลี่ยนไปครูก็จะคอยถามต่อไปอีกว่า  กลายเป็นรูป
อะไรเพราะเหตุใด และยังมีรูปอื่นมากมายเช่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า    ถ้าเลื่อนจะ
จะเปลี่ยนไปในรูปแบบใด     นอกจากนั้นก็ยังมีตัวอย่างปริซึม 5 เหลี่ยม ที่เป็นปริซึม 5   เหลี่ยม  ที่
สามารถดูว่าเป็นรูป
5  เหลี่ยมดูจากหัวและด้านล่างหน้าตัดและยังมีรูปแบบอื่นๆอีกเช่น

-รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
-ทรงกรวย
-วงกลม
-ทรงกลม

แต่เด็กอาจแยกไม่ถูกว่าเป็นรูปสามมิติหรือ สองมิติ

        ค
รูสมกมลจะมีการเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันว่าเป็นอย่างไรเช่นทรงกรวยก็จะเปรียบเทียบกับกรวยใส่ไอติมและยังมีการเอาหนังสือมายกตัวอย่าง   ร้อมถามว่าที่นักเรียนเห็นมองเป็นรูปอะไร  เป็นรูป 2 หรือ สามมิติ นักเรียนก็ตอบได้ว่า ทรง3 มิติ เพราะว่ามีความหนาความสูง ซึ่งส่งผลต่อคำถามที่ว่า ทรง 3 มิติ เกิดจากอะไร ครูก็ได้ทดลองนำวงกลมที่ประดิษฐ์ที่เป็นสองมิติมาซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น ซึ่ง 3 มิติ ก็จะเกิดจาก ทรงสองมิติซ้อนกันหลายๆ ชั้นถ้าสี่เหลี่ยมก็จะกลายเป็นลูกบาศก์
        นอกจากครูจะสอนแล้วยังให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประกอบเช่นรูปคลี่  และหลังจากได้เรียน
รู้แล้วก็ลองให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนผลที่ออกมาก็คือนักเรียนทำแบบทดสอบได้
สมกมลบอกว่าการที่ได้ประดิษฐ์สื่อนำมาสอนเด็กนั้นมันมีค่ามากกว่าเงินทองหลายกองมาวางไว้


4.บรรยากาศจัดห้องเรียนนั้นเป็นไปอย่างสนุกสนานเพลิดเพลินนักเรียนทุกคนสนุกมาก

ใบกิจกรรมที่ 6 เรื่องที่สนใจ













        ภาพนี้แม้อาจจะเป็นภาพที่ดูแล้วธรรมดา  แต่ทุกภาพนั้นล้วนแล้วแต่มีความหมายตั้งแต่ต้นจนภาพสุดท้าย ถ้าจะเปรียบคนดังเช่นต้นไม้ในรูปนี้  คนเราทุกคนมีสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน  เวลาก็เท่ากันแต่คนเราก็ไม่เหมือนกันทุกคน  ถ้าใครเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นทำอะไรด้วยตัวเองก็สามารถทำความฝันหรือความตั้งใจได้  แต่ถ้าใครที่คอยแต่จะให้คนอื่นมารดน้ำให้ก็ไม่มีทางจะเป็นดังที่หวัง  ก็เช่นเดียวกับคนเราที่ไม่มีใครที่จะคอยช่วยเราได้ตลอดเวลา  บุคคลใดหว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น



ใบกิจกรรมที่ 5

                                                                   ครูในดวงใจ


   
ประวัติ
ชื่อ          
:   ครู วาริณี พรมศรี
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ปีที่จบ 2003 · กศ.ม.  คณิตศาสตร์ · Phitsanulok   ปริญญาโท
โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย :
จักรคำคณาทร ลำพูน    ปีที่จบ 1993 · Lamphun  ม.4-6โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูนLamphunม.1/3
ปรัชญา   :   คิดดี ทำดี แล้วจะได้ดี
บุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจของครู วาริณี :
 คนที่เรารักและคนที่รักเรา
กีฬาที่ชื่นชอบ              :
   แบตมินตัน
ศิลปะและความบันเทิง :
แพ้ใจ ใหม่ เจริญปุระ
ดนตรี                           : 
รักไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ภาพยนตร์                    :  
กวน มึน โฮ  ,สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก
กิจกรรมและความสนใจ  :
 อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ที่ยว
        คนธรรมดาคนหนึ่งแต่ทำอะไรทำจริง อดทน ไม่คาดหวัง ใช้ชีวิตในทุกๆวันอย่างมีความสุข ตั้งใจ สนุกสนานในการทำงาน และมีอะไรพิเศษสำหรับครอบครัว แค่นี้ก็ภูมิใจแล้ว
ตำแหน่ง                         :    ครูชำนาญการ
สถานที่ทำงาน                :   โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน

ข้อมูลด้านการศึกษา

                          ระดับปริญญาตรี  สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (คบ.)    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
                          ระดับปริญญาโท  สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (กศ.ม.)    มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

ผลงานดีเด่น
  ครูแกนนำสาขาคณิตศาสตร์   ปีการศึกษา 2545
  ครูต้นแบบสาขาคณิตศาสตร์  ปีการศึกษา 2548
   ครูดีในดวงใจระดับโรงเรียน  ปีการศึกษา 2550
  ครูที่ปรีกษาดีเด่นในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ปีการศึกษา 2545
   รางวัลหนึ่งแสนครูดี  ของคุรุสภา   ปีการศึกษา 2554 

สิ่งที่ดีของครูที่นำมาประยุกต์ใช้ได้

              
จากการที่ได้ศึกษาประวัติและผลงาน  ของครูวาริณีพรมศรี แล้วประทับใจมากเพราะทั้งระบบการสอนของครูนั้นบอกได้เลยว่าไม่ธรรมดาเลย  เพราะครูวาริณีบอกว่าการเป็นครูคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรคณิตศาสตร์แนวใหม่ครูผู้สอนไม่ควรทิ้งการปูพื้นฐาน
  การเข้าใจที่มา  เน้นการคิด
เชิงวิเคราะห์พร้อมทั้งควรสร้างโจทย์ปัญหาและแนวข้อสอบที่หลากหลาย
  โดยครูที่มีคุณภาพในการ
สอน
  ควรสอนอย่างจริงจัง  ควรสอนที่ใช้สื่อ  อุปกรณ์  และแหล่งเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ มากมาย  ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจน  พร้อมควรเสริมด้วยเทคนิคคิดเลขเร็ว  โจทย์ปัญหาที่ท้าทายความคิด  ปรับเนื้อหาเข้ากับระดับความสามารถของนักเรียนแต่ละกลุ่มในช่วงชั้นที่ทำการสอน  มีการทดสอบวัดระดับและติดตามผลการเรียนอย่างต่อเนื่อง   การจัดการเรียนรู้ในบรรยากาศ
สนุกสนาน
  เอื้อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มความมั่นใจในการเรียนเพื่อผลการเรียนที่ดีขึ้นวิธีที่สามารถนำเป็นแนวทางได้คือ


การปลดล็อคการสอนคิดคณิตศาสตร์

 
             
ในการสอนคิดคณิตศาสตร์
  เป็นกระบวนการคิดที่ครูผู้สอนนำขั้นตอนกระบวนการคิดเพื่อ
แก้ปัญหานำมาใช้อย่างรู้ตัว
  โดยอาจดำเนินไปเป็นขั้นตอนของกระบวนการคิด  เพื่อใช้ในการสอนคิดคณิตศาสตร์  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

              ขั้นที่ การปลดล็อคทางความคิด  เป็นขั้นตอนให้ครูผู้สอนได้ปลดล็อคความคิดเก่าเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้  โดยคำนึงถึงเทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
               ขั้นที่ การนำความคิดเข้าสู่ปัญหา เป็นการศึกษาของสภาพปัญหาว่าเป็นอย่างไร  ปัญหาเกิดจากอะไรบ้าง  ซึ่งเป็นการค้นพบปัญหาที่อาจจะเป็นไปได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
              ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อวิเคราะห์ปัญหา เป็นการศึกษา  วิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์ 
ให้รู้ว่าปํญหาที่แท้จริงคืออะไรแน่  และอะไรบ้างที่ไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง
             
ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อระบุปัญหา เป็นการนำเอาปัญหาที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงมาเป็นประเด็นสำคัญในการศึกษา  รวบรวมข้อมูลสำหรับแต่ละเรื่อง
             
ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดเป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหานั้นๆ  ว่าจะให้ผลสัมฤทธิ์ทางด้านใด  เป็นปริมาณมากน้อยเพียงใด  มีคุณค่าสูงต่ำเพียงใด
              
ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อตั้งสมมติฐาน เป็นการเสนอแนวทางและวิธีการในการแก้ปัญหาให้ตรงกับสาเหตุของปัญหาที่อาจจะนำให้สามารถแก้ปัญหานั้นได้สำเร็จ
            ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อทดลองหรือทดสอบสมมติฐาน เป็นการนำวิจัยแก้ปัญหาในขั้นตั้งสมมติฐานไปใช้ในการแก้ปัญหา
           
ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อสรุปผลและรายงานผล  เป็นการสรุปผลและรายงานผลในการสอนคิดคณิตศาสตร์  โดยใช้กระบวนการคิดในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้
           
ขั้นที่ การนำความคิดเพื่อการนำไปใช้  เป็นการนำความคิดเพื่อการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
          สอนคิดคณิตศาสตร์  เน้นการเรียนแบบมีส่วนร่วมและกระบวนการคิดแก้ปัญหา

นอกจากนี้ ยังมีข้อเตือนใจอีกว่าเราเรียนคณิตศาสตร์ไปเพื่ออะไร
      
               
เป้าหมายสูงสุดของการเรียนคณิตศาสตร์ก็คือ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน   และการนำไปใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาวิชาชีพต่าง ๆ   หลายคนอาจสงสัยว่า ไม่เห็นต้องเรียนคณิตศาสตร์มากนัก บวก ลบ คูณหารจำนวนเราก็มีเครื่องคิดเลขใช้แล้ว  นับว่าเป็นความเข้าใจผิด  คณิตศาสตร์มิใช่เพียงต้องให้คิดคำนวณเกี่ยวกับตัวเลขเท่านั้น  ในโลกยุค ปัจจุบันเมื่อเรา
เรียนคณิตศาสตร์เราควรได้คุณสมบัติต่อไปนี้จากการเรียน
      
            1. ความสามารถในการสำรวจ
            2. ความสามารถในการคาดเดา
            3. ความสามารถในการให้เหตุผล
           4.  ความสามารถในการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาที่ไม่เคยพบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       
               
การเรียนรู้คณิตศาสตร์    ถ้าเราถูกสอนโดยวิธีครูบอกความรู้ หรือเทคนิคลัด ๆ ให้ท่องจำ
นำไปใช้โดยปราศจากความเข้าใจ ไม่รู้ที่มา ไม่รู้เหตุผล
  เราก็จะไม่ได้คุณสมบัติดังกล่าว   อะไรคือหัวใจสำคัญของคณิตศาสตร์  เมื่อเราเรียนคณิตศาสตร์ไปจนถึงระดับ มัธยมศึกษา เราควรได้สิ่งต่อไปนี้

            
  1. มีความรู้ใน คำศัพท์ บทนิยาม หลักการ ทฤษฎีบท  โครงสร้าง วิธีการ
               2. มีความเข้าใจ ในความคิดรวบยอดจนสามารถอธิบายได้ หรือเขียนได้ หรือยกตัวอย่างได้  แปลงปัญหาจากรูป  หนึ่งไปสู่รูปหนึ่งได้ ประมาณคำตอบได้ ระบุความสัมพันธ์ได้  ตรวจสอบผลที่เกิดได้
               3. มีทักษะต่าง ๆ ดังนี้  ทักษะการแก้ปัญหา การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง การคิดอย่างมีเหตุผล การคิดคำนวณ  การวัด   การประมาณ  การอ่านและแปลผลข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การทำนาย  และการใช้คอมพิวเตอร์
               4. มีความสามารถในการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้
 

                นอกจากนี้ครูวาริณียังใช้สื่อคอมพิวเตอร์และมีบทความต่าง ๆ มากมายซึ่งฉันได้ศึกษาและนำมาฝากเพื่อนๆ  ที่สนใจและอยากให้ได้อ่านกันเพราะที่ฉันศึกษานั้นเชื่อเหลือเกินว่ามีสารประโยชน์มาก


บทความคณิตศาสตร์
"เครื่องช่วยจอดรถยนต์"
             นักวิทยาศาสตร์นาม Bryan Rickett เปิดเผยกับวารสาร New Scientist ว่าในอนาคต
(อันไม่ไกลเกินรอ) ผู้ขับรถทั้งมือใหม่หัดขับและมือโปรขับเก่งจะไม่ต้องเสียอารมณ์กับการหาที่จอดรถ
(เหมาะๆ) อีกต่อไป Rickett ทำงานให้กับ Roke Manor Research ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาระบบช่วยจอดรถ “Vehicle Parking Assistant” หลักการของเครื่องช่วยจอดรถนี้คือการติดตั้งตัวรับเรดาร์และกล้องถ่ายรูปเข้ากับรถยนต์ เพื่อคำนวณขนาดและตำแหน่งของที่จอดรถว่า พื้นที่ดังกล่าวเพียงพอสำหรับการจอดรถของท่านหรือไม่ หากพื้นที่ดังกล่าวเหมาะสมสำหรับการจอด จะเข้าจอดอย่างไรจึงจะไม่ชนรถคันอื่น ๆ หรือสิ่งกีดขวาง เครื่องช่วยจอดรถนี้จะเป็นผู้บอกคุณแทนเด็กโบกรถ
               เครื่องช่วยจอดรถนี้เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร การทำงานของเครื่องช่วยจอดรถใช้เทคนิคที่เรียกว่า multilateration เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งไว้รอบ ๆ
คันรถมาประกอบเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น  เซ็นเซอร์สี่ตัวที่ติดตั้งไว้ที่กันชนด้านหน้าของรถจะส่งสัญญาณ สัญญาณดังกล่าวจะถูกสะท้อนกลับโดยสิ่งกีดขวางที่อยู่ในระยะที่กำหนด เวลาที่สัญญาณใช้ในการสะท้อนกลับนั้นขึ้นอยู่กับระยะห่างระยะหว่างสิ่งกีดขวางกับตัวเซ็นเซอร์ ค่าที่ได้นี้จะนำไปสู่ระบบ สมการอเชิงเส้น
16 สมการซึ่งเกี่ยวข้องกับพิกัดจุดของตัวเซ็นเซอร์
(ตำแหน่งของตัวเซ็นเซอร์ที่เราติดตั้ง) และตำแหน่งพิกัดจุดของสิ่งกีดขวางซึ่งเป็นตัวไม่ทราบค่า การแก้สมการทั้ง 16 สมการประกอบกับการแก้ปัญหาทางเรขาคณิต และภาพที่ได้จากกล้องถ่ายภาพที่ติดตั้งกับตัวรถ ให้ภาพตำแหน่งของที่จอดรถที่เหมาะสม เครื่องช่วยจอดรถนี้ได้ถูกนำมาทดลองกับรถยนต์แล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และคาดว่าจะได้นำออกมาใช้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
        และยังมีวิธีเรียนคณิตศาสตร์อย่างไรเรียนให้เก่งเป็นอีกบทความหนึ่งที่น่าสนใจที่ฉันนำมาฝาก

เราต้องเริ่มฝึกฝนการเป็นผู้เรียนที่ดี
โดยสามารถทำได้ตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
         1.  เวลาฟังครู หรือเวลาอ่าน ต้อง คิด ถาม จด ถ้าไม่เข้าใจควรจดคำถามไว้เพื่อคิดค้นคว้า หรือ ถามผู้รู้ต่อไป
         2.  หมั่นดูหนังสือหรือทำการบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ควรหามุมอ่านหรือทำการบ้านที่เหมาะสมกับตนเอง
         3.  จัดเวลาสำหรับทบทวนสิ่งที่เรียนมา หรืออ่านล่วงหน้าสิ่งที่จะเรียนต่อไป และถ้าปฏิบัติตามที่กำหนดได้ควรให้ รางวัลตัวเอง เช่น ได้ขนม ได้เล่น ได้ฟังเพลง ดูทีวี ได้เล่นกีฬา เป็นต้น ถ้า ทำไม่ได้ตาม กำหนดควรหาเวลาชดเชย
        4.  ทบทวนความรู้กับเพื่อน อย่าหวงวิชา แบ่งปันความรู้อธิบายให้กันและกัน อย่าช่วยเหลือ
เพื่อนในทางที่ผิด เช่น ทุจริตเวลาสอบ หรือให้ลอกงานโดยไม่เข้าใจ
        5.  ศึกษาด้วยตนเอง มิใช่ต้องเรียนจากครูเพียงอย่างเดียว การศึกษาด้วยตนเองจากตำราหลายๆ เล่ม ต้องทำ ความเข้าใจจดสาระสำคัญต่าง ๆ ลงในโน้ตย่อ จดสิ่งที่ไม่เข้าใจไว้ค้นคว้าต่อไป ถ้าต้องการเชี่ยวชาญ คณิตศาสตร์ ต้องหมั่นหาโจทย์แปลกใหม่มาทำมาก ๆ เช่นโจทย์แข่งขัน เป็นต้น
        6. รู้ ๆ กันอยู่ว่า คณิตศาสตร์มีสูตร มีทฤษฎีมากมาย ทำอย่างไรถึงจะจำได้หมดล่ะ ­ เราต้องเรียนด้วยความเข้าใจเสียก่อน จากนั้นเราต้องหมั่นทบทวน ก่อนอื่นเราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การจำการลืมก่อน

         ดังนั้น   จึงสรุปได้ว่า เราควรทำความเข้าใจกับเรื่องนั้นๆ เสียก่อน และหมั่นทบทวนทุกวันด้วย  ถ้าอยากจำได้ดีและเข้าใจในเรื่องนั้นๆมากขึ้น เราควรที่จะ มองเปรียบเทียบคณิตเรื่องนั้นกับ เรื่องราวในชีวิตประจำวัน เช่น มองสิ่งต่างๆที่พบเจอเป็นคณิตศาสตร์ เป็นต้น